โครงการอบรมแกนนำอาสานักฟัง เพื่อการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้าย (Advance care planning) ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมแกนนำอาสานักฟัง เพื่อการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้าย (Advance care planning) ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L6896-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง |
วันที่อนุมัติ | 10 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 61,462.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสมฤทัย มะนะโส |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.616place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลสถิติประชากรงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครตรัง ณ เดือนกรกฎาคม 2567 พบว่ามีประชากร ในพื้นที่เขตเทศบาลนครตรัง ทั้งหมด 54,344 คน โดยมีกลุ่มประชากรที่มากที่สุดแบ่งเป็น 3 อันดับดังนี้ อันดับหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 52.63 อันดับสอง กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ร้อยละ 22.23 อันดับสาม กลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 18.09 ซึ่งขณะนี้เทศบาลนครตรังได้เข้าสู่การเป็น“สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดการณ์ว่าในปี 2572 เทศบาลนครตรังจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.44 ซึ่งครอบครัวของผู้สูงอายุต้องพบกับความสูญเสียจากการจากไปของคนในครอบครัว โดยไม่ได้เตรียมความพร้อม หรือเกิดความขัดแย้ง ในครอบครัว การวางแผนการดูแลล่วงหน้าเป็นกระบวนการที่เคารพความเป็นปัจเจกชนของบุคคล โดยให้บุคคลมีส่วนร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพในการตัดสินใจในการดูแลตนเอง ซึ่งผู้ที่ไม่เจ็บป่วย หรือผู้ป่วยก็สามารถวางแผนการดูแลล่วงหน้า เพื่อตัดสินใจแนวทางในการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองในอนาคตตามที่ต้องการได้ ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่รุนแรง และรักษาไม่หาย รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุ การวางแผนการดูแลล่วงหน้า เป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากหากผู้ป่วยและญาติได้ร่วมกันวางแผนการดูแลล่วงหน้ากับบุคลากรสุขภาพจะทำให้บุคลากรด้านสุขภาพทราบถึงเป้าหมาย และความต้องการในการดูแลของผู้ป่วย และครอบครัว ในบางกรณียังช่วยลดการให้การรักษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยที่จะนำไปสู่การขัดแย้งกันกับฝ่ายผู้ให้การรักษาพยาบาล ความชัดเจนที่เพิ่มขึ้นของแผนการดูแลล่วงหน้ายังลดความเครียดในการดูแลผู้ป่วยจากความไม่แน่นอนของอาการในระยะนี้ ประกอบกับปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังที่รุนแรง และรักษาไม่หาย และจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรายละเอียดในการดูแลผู้ป่วยตามบริบทอำนาจหน้าที่ของตนเอง และเพิ่มโอกาสในการนำการวางแผนการดูแลล่วงหน้าไปใช้ในกระบวนการดูแลผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนต่อไป พระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 มาตรา 17 ให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ด้านการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพ จึงมีความสอดคล้องไปกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการที่จะ พัฒนาแกนนำให้มีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน ร่วมกับแกนนำสามารถเผยแพร่การดูแลผู้สูงอายุ และการดูแลแบบประคับประคอง เกิดการขยายผลในชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองในอนาคตตามที่ต้องการได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบความต้องการของตนเองในการวางแผนการดูแลสุขภาพตนเองล่วงหน้า ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมการวางแผนดูแลสุขภาพตนเองล่วงหน้า (ทำสมุดเบาใจ) |
||
2 | เพื่อให้แกนนำที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนได้ ร้อยละ 80 ของแกนนำสามารถถ่ายทอดความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนได้ |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | สร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการวางแผนการดูแลสุขภาพตนเองล่วงหน้า(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 3,000.00 | ||||||||||||
2 | การอบรมแกนนำอาสานักฟัง เพื่อการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้าย (Advance.care planning) ปี2568(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 58,462.00 | ||||||||||||
รวม | 61,462.00 |
1 สร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการวางแผนการดูแลสุขภาพตนเองล่วงหน้า | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 40 | 3,000.00 | 1 | 3,000.00 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | สร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการวางแผนการดูแลสุขภาพตนเองล่วงหน้า | 40 | 3,000.00 | ✔ | 3,000.00 | 0.00 | |
2 การอบรมแกนนำอาสานักฟัง เพื่อการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้าย (Advance.care planning) ปี2568 | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 58,462.00 | 1 | 58,462.00 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | การอบรมแกนนำอาสานักฟัง เพื่อการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้าย (Advance.care planning) ปี2568 | 0 | 58,462.00 | ✔ | 58,462.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 40 | 61,462.00 | 2 | 61,462.00 | 0.00 |
- ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมการวางแผนดูแลตนเองล่วงหน้า 2. แกนนำสามารถถ่ายถอดความรู้การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2567 11:01 น.