โครงการโรงเรียนพ่อแม่สานสายใยสู่ลูก
ชื่อโครงการ | โครงการโรงเรียนพ่อแม่สานสายใยสู่ลูก |
รหัสโครงการ | 60-L2514-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ |
วันที่อนุมัติ | 28 มิถุนายน 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 13,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฟารีดาสาเมาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นาย อรรถพล ขวัญเกิด |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.343,101.59place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2559 | 30 ก.ย. 2560 | 13,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 13,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 90 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การอนามัยแม่และเด็กเป็นรากฐานของการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง ต่อเนื่องถึงการดูแลเด็กช่วงปฐมวัย เพื่อให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการสมวัย และมีสุขภาวะทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
งานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานส่งเสริมสุขภาพซึ่งเป็นหนึ่งในการบริการสาธารณสุขที่ให้บริการกับหญิงตั้งครรภ์ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือการฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ การดูแลการตั้งครรภ์ก่อนคลอดครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ รับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของตนเอง วิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการคลอดในสถานบริการสาธารณสุข
จากรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดงานแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะจังหวัดนราธิวาสปีงบประมาณ ๒๕๕๖ พบว่าภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๓๐ ไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด (ร้อยละ ๑๐) ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๖๑ ไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด (ร้อยละ ๘๕) ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ ๗๖.๙๒ไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด (ร้อยละ ๙๐) และคลอดในสถานบริการสาธารณสุข ร้อยละ ๑๐๐ ผ่านตัวชี้วัดที่กำหนด
จากผลการดำเนินงานข้างต้น พบว่า ผลงานส่วนใหญ่ไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไข ซึ่งการที่จะทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยการร่วมมือกันหลายฝ่าย ไม่ว่าภาครัฐเอกชนองค์กรต่างๆในท้องถิ่นกลุ่มอาสาสมัครและแม้แต่ตัวประชาชนเองด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนพ่อแม่สานสายใยสู่ลูกขึ้นเพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ลดภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
ขั้นวางแผน(Plan) ๑. จัดทำแผนปฏิบัติการ ๒. จัดทำโครงการเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขออนุมัติโครงการ ๓. ประสานงานเตรียมเจ้าหน้าที่ เตรียมพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. ๒. จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์สามีอสม. และ ผดบ. ๓. ผดบ.ให้บริการร่วมกับ จนท.ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาโละ ๔. อสม.และ ผดบ.สำรวจหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ๕. จัดระบบการติดตามรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กและไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์โดยให้สามีมีส่วนร่วม ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑. จัดอบรมให้ความรู้ แกนนำในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ๒. ค้นหาหญิงตั้งครรภ์และส่งเสริมการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ๓. เฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่สำคัญในขณะตั้งครรภ์ ๔. ส่งเสริมการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์โดยติดตามหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัด ๕. จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ -อบรมหญิงตั้งครรภ์และสามีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตร ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑. รายงานผลการดำเนินงาน ๒. ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓. ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป
1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้ ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองระหว่างตั้งครรภ์ ๒.ไม่เกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ ๓.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2559 13:32 น.