กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูงและคัดกรองประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการรับบริการคัดกรองและรับรู้วิธีลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาตามแผนการดูแล ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1.กิจกรรมเตรียมงานก่อนดำเนินการ
-ประชุมชีี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ อสม. แกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่ประจำชุมชน ทั้ง 45 ชุมชน พร้อมจัดทำแผนการออกคัดกรองรายชุมชน -จัดสำรวจ/จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องคัดกรอง เตรียมเอกสารการคัดกรอง จัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ -ประชาสัมพันธ์แผนงาน/โครงการ งบประมาณ *ค่าถ่ายเอกสาร แบบฟอร์มคัดกรอง จำนวน 6,870 ชุด *แถบตรวจน้ำตาลในเลือด 9,870 แถบ

2.กิจกรรม ตรวจคัดกรอง -ตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในแต่ละชุมชนโดยซักประวัติพฤติกรรมสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว ดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต วัดระดับน้ำตาลในเลือด แปลผลการคัดกรอง -ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเป้าหมาย -คัดกรองตามแนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด -จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง -ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงโดยเจ้าหน้่าที่และ อสม.เพื่อเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพร้อมให้คำแนะนำผู้ที่มีความเสี่ยง -ส่งต่อในรายที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อ -บันทึกผลการคัดกรองในโปรแกรม JHCIS

3.ประเมินผลสรุปและประเมินโครงการ -ผลการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองร้อยละ 92.95 พบเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 86.13 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 12.21 กลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ 1.58 กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามตรวจซ้ำและ วินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานรายใหม่ ร้อยละ 0.27 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 61.37 กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรคเบาหวานได้รับการติดตามรักษา ร้อยละ 95.8 -ผลการดำเนินงานคัดกรองความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองร้อยละ 91.66 พบเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 67.06 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 26.91 กลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ 5.85 กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามตรวจซ้ำและวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ร้อยละ 0.73 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 63.35 กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 91.37

ข้อเสนอแนะ
1.กลุ่มเป้าหมายอยู่ในบริบทเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองการให้ความร่วมมือน้อย ไม่ค่อยตระหนักในเรื่องของการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ติดภารกิจมาตามนัดน้อยต้องใช้การลงพื้นที่ติดตามคัดกรองที่บ้านทำให้ต้องใช้เวลานาน จึงต้องทำความเข้าใจให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายให้มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองประสานความร่วมมือกับเครือข่ายสุขภาพและภาคประชาชนเรื่องการบริการและการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลายช่องทาง

2.กลุ่มเสี่ยงที่นัดตรวจติดตามซ้ำ ติดตามยาก และไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา และการเข้ากลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จึงต้องสร้างความตระหนักและเพิ่มช่องทางการติดตาม โดยผ่าน อสม.หรือเจ้าหน้าที่โทรประสานงานเองโดยตรง เพื่อให้กลุ่มเสี่่ยงเห็นความสำคัญของกิจกรรมการคัดกรอง

3.อสม.ขาดทักษะและความชำนาญในการเจาะเลือดปลายนิ้ว บางรายไม่สามารถเจาะเลือดได้ บางรายไม่ให้ความร่วมมือในการคัดกรอง ไม่มีเวลา ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จึงควรจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในเรื่องของการคัดกรอง ทำความเข้าใจและสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่อธิบายเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ตามใบคัดกรอง ฝึกอบรมเรื่องการวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดปลายนิ้ว(1)

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ