กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูงและคัดกรองประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการรับบริการคัดกรองและรับรู้วิธีลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง
ตัวชี้วัด : ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ 90
90.00 92.21

คัดกรองเบาหวาน ร้อยละ 92.21
คัดกรองความดันโลหิตสูง ร้อยละ 91.59

2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 60
60.00 63.35

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคเบาหวาน ร้อยละ 61.37

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 63.35

3 ข้อ 3 กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาตามแผนการดูแล
ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาร้อยละ 100
100.00 95.80

กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวานได้รับการส่งต่อและรักษา ร้อยละ 95.80

กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อและรักษา ร้อยละ 91.37

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 9870 9071
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 0
กลุ่มวัยทำงาน 4,780 4,393
กลุ่มผู้สูงอายุ 5,090 4,678
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูงและคัดกรองประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการรับบริการคัดกรองและรับรู้วิธีลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาตามแผนการดูแล ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1.กิจกรรมเตรียมงานก่อนดำเนินการ
-ประชุมชีี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ อสม. แกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่ประจำชุมชน ทั้ง 45 ชุมชน พร้อมจัดทำแผนการออกคัดกรองรายชุมชน -จัดสำรวจ/จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องคัดกรอง เตรียมเอกสารการคัดกรอง จัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ -ประชาสัมพันธ์แผนงาน/โครงการ งบประมาณ *ค่าถ่ายเอกสาร แบบฟอร์มคัดกรอง จำนวน 6,870 ชุด *แถบตรวจน้ำตาลในเลือด 9,870 แถบ

2.กิจกรรม ตรวจคัดกรอง -ตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในแต่ละชุมชนโดยซักประวัติพฤติกรรมสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว ดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต วัดระดับน้ำตาลในเลือด แปลผลการคัดกรอง -ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเป้าหมาย -คัดกรองตามแนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด -จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง -ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงโดยเจ้าหน้่าที่และ อสม.เพื่อเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพร้อมให้คำแนะนำผู้ที่มีความเสี่ยง -ส่งต่อในรายที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อ -บันทึกผลการคัดกรองในโปรแกรม JHCIS

3.ประเมินผลสรุปและประเมินโครงการ -ผลการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองร้อยละ 92.95 พบเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 86.13 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 12.21 กลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ 1.58 กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามตรวจซ้ำและ วินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานรายใหม่ ร้อยละ 0.27 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 61.37 กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรคเบาหวานได้รับการติดตามรักษา ร้อยละ 95.8 -ผลการดำเนินงานคัดกรองความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองร้อยละ 91.66 พบเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 67.06 กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 26.91 กลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ 5.85 กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามตรวจซ้ำและวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ร้อยละ 0.73 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 63.35 กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 91.37

ข้อเสนอแนะ
1.กลุ่มเป้าหมายอยู่ในบริบทเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองการให้ความร่วมมือน้อย ไม่ค่อยตระหนักในเรื่องของการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ติดภารกิจมาตามนัดน้อยต้องใช้การลงพื้นที่ติดตามคัดกรองที่บ้านทำให้ต้องใช้เวลานาน จึงต้องทำความเข้าใจให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายให้มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองประสานความร่วมมือกับเครือข่ายสุขภาพและภาคประชาชนเรื่องการบริการและการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลายช่องทาง

2.กลุ่มเสี่ยงที่นัดตรวจติดตามซ้ำ ติดตามยาก และไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา และการเข้ากลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จึงต้องสร้างความตระหนักและเพิ่มช่องทางการติดตาม โดยผ่าน อสม.หรือเจ้าหน้าที่โทรประสานงานเองโดยตรง เพื่อให้กลุ่มเสี่่ยงเห็นความสำคัญของกิจกรรมการคัดกรอง

3.อสม.ขาดทักษะและความชำนาญในการเจาะเลือดปลายนิ้ว บางรายไม่สามารถเจาะเลือดได้ บางรายไม่ให้ความร่วมมือในการคัดกรอง ไม่มีเวลา ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จึงควรจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในเรื่องของการคัดกรอง ทำความเข้าใจและสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่อธิบายเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ตามใบคัดกรอง ฝึกอบรมเรื่องการวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดปลายนิ้ว(1)

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh