โครงการนาท่อมร่วมใจป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการนาท่อมร่วมใจป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | ุ68-L3356-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านนาท่อม |
วันที่อนุมัติ | 30 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 32,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายศักดื์ชาย โรจชะยะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน) | 12.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคและปัจจุบันโรคสามารถแพร่ระบาดได้ทั้งปี ซึ่งต่างจากในอดีตที่มักจะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ทั้งนี้ยังขาดความตระหนักจากประชาชนผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ที่ยังคงมีความเข้าใจว่าเป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. จึงละเลยเรื่องดูแลบ้านเรือนของตน โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติตามหลัก 5 ป+1ข
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 156,097 ราย เสียชีวิต 175 ราย ซึ่งผู้ป่วยสูงกว่าปี 2565 ถึง 3.4 เท่า (ปี 2565 ผู้ป่วย 45,145 ราย) ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค สำหรับสถาการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดพัทลุง พบว่าปี 2565 มีผู้ป่วย 189 ราย และปี 2566 มีผู้ป่วย 2,184 ราย (ข้อมูลจากกลุ่มงานโรคติดต่อและงานระบาดวิทยา สจ.พัทลุง) ซึ่งพบว่ายอดผู้ป่วยสูงกว่าปี 2565 ถึง 11.5 เท่า ในจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 – 24 ส.ค.67 พบผู้ป่วยแล้ว 1,086 ราย เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน วัด ชุมชน โรงเรียนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน โรคไข้เลือดออกระหว่างวันที่ 01/01/2567 ถึง 31/08/2567 พื้นที่ตำบลนาท่อม ร้อยละ 63.33 และเดือนกันยายน 2567 พบผู้ป่วยจำนวน 2 ราย ตุลาคม จำนวน 3 ราย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม มุ่งหวังเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน โรงเรียน และวัด ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก หมูบ้าน/ชุมชนสามารถควบคุมไข้เลือดออกได้ (ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ใน 28 วันหรือ 4 สัปดาห์ นับจากวันที่เริ่มป่วย |
8.00 | 4.00 |
2 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด |
8.00 | 4.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 32,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ธ.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก | 0 | 12,400.00 | - | ||
20 ธ.ค. 67 | ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ทีม SRRT | 0 | 4,700.00 | - | ||
6 ม.ค. 68 | รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก | 0 | 12,500.00 | - | ||
20 มิ.ย. 68 | ประชุมคณะกรรมการ SRRT ติดตามผลดำเนินงาน | 0 | 2,400.00 | - |
1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่
2.เพื่อเฝ้าระวังและค้นหาป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือด ในพื้นที่ได้
3.สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
4.เพื่อให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2567 13:39 น.