โครงการส่งเสริมจินตนาการในวัยผู้สูงอายุ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมจินตนาการในวัยผู้สูงอายุ |
รหัสโครงการ | 68-L3356-3-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลนาท่อม |
วันที่อนุมัติ | 30 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 24,268.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมัย หมวดมณี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ศาลาเอนกประสงค์บ้านหูยาน หมู่ที่ 8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม | 55.88 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวน 980 คน และ พ.ศ.2567 จำนวน 1,005 คน มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่่มสุงขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้ คือ การเตรียมพร้อมเพื่่อป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆ กับอายุที่ยืนยาวขึ้น และหนึ่งในโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุคือ โรคสมองเสื่อมและในตำบลนาท่อมมีผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมจำนวน 8 ราย โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลนั้น ๆ และทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมี 2 ประการคือ ปัญหาความจำและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจำระยะยาว ตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจ ทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจเพราะทำให้เกิดความเครียดที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จนบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย แต่ยังมีกิจกรรมในด้านศิลปะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมจิตใจให้เบิกบาน ทำให้สมองได้จิตนาการ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ที่สามารถช่วยป้องกัน ภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ การวาดภาพระบายสี เป็นกิจกรรมศิลปะที่ช่วยสร้างเสริมความสุขและความเพลิดเพลินให้แก่คนชรา ได้เป็นย่างดี อีกทั้งกระตุ้นการทำงานของสมองไม่ให้เกิดอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมได้ประโยชน์ของกิจกรรมการวาดภาพระบายสี สำหรับ คนชรา และผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องรักษาตัวอยู่เป็นระยะเวลานานๆ จากโรคสมองเสื่อม จึงได้จัดทำโครงการสูงวัยห่างไกลสมองเสื่อม ด้วยกิจกรรมเพ้นท์ผ้า เพราะศิลปะการวาดภาพระบายสี เป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองไม่ให้เกิดอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น |
55.88 | 66.50 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 31 ม.ค. 68 | ประชุมสร้างเข้าใจ | 0 | 3,350.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 ม.ค. 68 | อบรมและฝึกปฏิบัติการเพ้นท์ผ้าชะลอการเกิดภาวะอัลไซเมอร์ | 0 | 17,318.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 28 ก.พ. 68 | แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศิลปะลดภาวะสมองเสื่อม | 0 | 3,600.00 | - | ||
รวม | 0 | 24,268.00 | 0 | 0.00 |
ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรมเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2567 14:24 น.