โครงการหนูน้อยสดใส ใส่ใจพัฒนาการ ประจำปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยสดใส ใส่ใจพัฒนาการ ประจำปี 2567 |
รหัสโครงการ | 20-L8283-02-67 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมรักษ์สุขภาพ |
วันที่อนุมัติ | 27 ธันวาคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรัตติกาญ สุวรรณนิตย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมะรอกี เวาะเลง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.83992,101.17608place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาคน ซึ่งคนที่มีประสิทธิภาพต้องมีการมีการวางรากฐานที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คือมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ มีการดูแลครรภ์อย่างมีคุณภาพ มีการคลอดที่ปลอดภัย และได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัยซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ได้ผลดีนั้น ต้องมีการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ผ่านการเล่น จากการศึกษาในหลายๆการศึกษาพบว่าการเล่นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ เช่น ความคิด จินตนาการ ภาษาการเรียนรู้กฎระเบียบทางสังคม วัฒนธรรมการเล่นจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ ความคิด การกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ การแก้ไขปัญหาของเด็ก และช่วยในการพัฒนาจิตใจของเด็กให้เด็กรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีความสุขจากการเล่นซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาการบริหารสมองส่วนหน้า ให้รู้จัก “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ แก้ไขปัญหาเป็น อยู่กับผู้อื่นเป็น และมีความสุขเป็น”ดังนั้นการเล่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กนอกจากจะทำให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดแล้ว ยังช่วยให้การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าซึ่งการทำให้เด็กมีทักษะทางสมองที่ดีได้ต้องผ่านการฝึกฝนซ้ำๆตลอดเวลา ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครองและคุณครูในศูนย์เด็กเล็กจึงจำเป็นต้องมีความรู้ในการส่งเสริมทักษะสมองเด็กอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสมตลอดช่วงวัย
จากการการศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็ก และพฤติกรรมสุขภาพของครอบครัวด้านอนามัยแม่และเด็กจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2563 พบ เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยรวมทุกด้านในครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ 65.40 หลังจากที่มีการกระตุ้นพัฒนาการพบว่าเด็กมีพัฒนาสมวัยคิดเป็นร้อยละ 85.33 และพบพัฒนาการด้านภาษาสงสัยล่าช้ามากที่สุด และจากการศึกษายังพบว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็ก จะพบว่าผู้ปกครองให้เด็กๆ ๐-๕ ปีให้เด็กได้ใช้สื่ออิเลคโทรนิคประเภท โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ แทบเลต มากกว่าวันละ๑ ชม. ในขณะที่การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกับลูกได้แก่ เล่น วาดรูป ระบายสี ทำกิจกรรมนันทนาการต่างร่วมกับลูก อย่างน้อยครั้งละ ๓๐ นาที มีน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าเด็กขาดโอกาสการเล่นกลางแจ้งรวมไปถึงการได้ออกกำลังกายหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ซึ่งส่งผลทำให้เด็กมีปัญหาภาวะโภชนาการไม่เหมาะสม โดยพบเด็กมีรูปร่างดีสมส่วนร้อยละ 66.53 และยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พ่อแม่ผู้ปกครองขาดความรู้ในการอบรมเลี้ยงเด็กที่ถูกต้อง
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทางชมรมรักษ์สุขภาพ ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กไทยสุขภาพดี เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับบริการส่งเสริมพัฒนาการ การเสริมสร้างระดับสติปัญญา ให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เรียนรู้ การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กผ่านการเล่นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการ/โภชนาการสมวัย การพัฒนาการของเด็กในช่วง 0-5 ปี |
60.00 | 80.00 |
2 | 2. เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก/โภชนาการตามวัย ผู้ดูแลเด็ก ทั้งผู้ปกครองและครูที่ีับผิดชอบมีความเข้าใจในการพัฒนาการของเด็กตามวัย |
60.00 | 80.00 |
3 | 3. เพื่อให้เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า/พัฒนาการล่าช้า ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม จากพฤติกรรมของเด็กที่ผ่านการอบรม |
60.00 | 80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
20 ก.ย. 67 | กิจกรรมอบรมให้้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการในเด็ก | 0 | 30,000.00 | - | ||
23 ก.ย. 67 | กิจกรรมละลายพฤติกรรมในเด็ก/ถอดบทเรียน | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 |
เด็กมีพัฒนาการด้านสติ ปัญญา จิตใจ ความเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2567 10:58 น.