โครงการสุขภาพดี เริ่มที่ครรภ์มารดา
ชื่อโครงการ | โครงการสุขภาพดี เริ่มที่ครรภ์มารดา |
รหัสโครงการ | 67-L8402-1-22 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม |
วันที่อนุมัติ | 10 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 32,382.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนคร กาเหย็ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.173,100.263place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และ การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรงครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่ง จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพ คือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพ เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ทุกวันนี้ สถานการณ์โลกยังมีผู้หญิงเสียชีวิต จากปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด และมีอีกนับหมื่นๆ คนที่ประสบภาวะแทรกซ้อน สำหรับประเทศไทย โดยเฉลี่ยผู้หญิงเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และการคลอด วันละ 1-2 คน มีแม่และเด็กจำนวนมากเจ็บป่วยรุนแรงถึงพิการ จากสาเหตุส่วนใหญ่ที่สามารถป้องกันได้ อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้ เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง และมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม สถานการณ์งานแม่และเด็กปี 2565 พบว่าอัตราส่วนการตายมารดาเท่ากับ 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน สาเหตุการตายหลัก ได้แก่ การตกเลือดหลังคลอด และความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 70.71 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเสริมไอโอดีนร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 10 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 15 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 91.23 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ เท่ากับ 82.18 ร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ เท่ากับร้อยละ 71.96 (HDC,30 ก.ย.2565) จากการดำเนินงานการอนามัยแม่และเด็กยังคงพบว่า ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีร้อยละที่มากกว่า ร้อยละ10 ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ทารกแรกเกิดมีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและอาจจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านพัฒนาการล่าช้าได้ ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี เริ่มที่ครรภ์มารดา เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีก่อนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์เมื่อพร้อมตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และไปรับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 8 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ และได้รับการคลอดในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้หญิงมีครรภ์ได้ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน ๑๒ wks และดูแลก่อนคลอดครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ หญิงมีครรภ์ได้ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน ๑๒ wks และดูแลก่อนคลอดครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ |
80.00 | |
2 | เพื่อแก้ปัญหาการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ แก้ปัญหาการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ |
80.00 | |
3 | เพื่อให้เด็กแรกคลอดน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ(๒๕๐๐ กรัม) เด็กแรกคลอดน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ(๒๕๐๐ กรัม) |
80.00 |
๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ จัดทำแผนงาน/โครงการ ฯ เสนอขอความเห็นชอบ /รับสนับสนุนงบประมาณ
๒. ขั้นดำเนินการ
๒.1 ประชุมชี้แจงแก่อาสาสมัครสาธารณสุข บทบาทหน้าที่และการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์/รณรงค์การฝากครรภ์เร็ว(ภายใน ๑๒ สัปดาห์) ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ ดูแลให้ฝากครรภ์ตามนัดตามเกณฑ์คุณภาพ
๒.2 จัดหาอาหารเสริม(นมสูตรสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร) สนับสนุนหญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์
๒.๓ สนับสนุนอาหารเสริม(นมสูตรสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร) หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ทุกราย จำนวน 1 มื้อ/วัน ระยะเวลา 2 เดือน
2.4 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ
3. ขั้นประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
๓.๑ สรุปผลดำเนินงานโครงการ
๑.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบตามเกณฑ์มาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก
๒.ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์หมดไป
๓.เด็กแรกคลอดน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2567 14:45 น.