โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-3-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล |
วันที่อนุมัติ | 30 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 10,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุนิสา บุตรร่ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคฟันผุเป็นปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญในงานทันตสาธารณสุขของเด็กก่อนวัยเรียน จากรายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากแห่งชาติ พ.ศ. 2555 และ 2560 ในกลุ่มเด็กอายุ 3 ปี พบว่า ความชุกของโรคฟันผุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 51.80 และ 52.90 ตามลำดับ จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าเด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบว่าเด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน สาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็กมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น การให้เด็กทานขนมหรือนมที่มีรสหวานเป็นประจำ การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมหลังจากฟันขึ้นแล้ว หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยไม่ได้เริ่มแปรงฟันตั้งแต่น้ำนมซี่แรกขึ้น ผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากในอนาคตได้ การมีฟันน้ำนมผุ เด็กจะปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งอาการปวดฟันยังส่งผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กตัวเล็กๆ สามารถขัดขวางพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาได้
นอกจากนี้เด็กที่มีฟันน้ำนมผุก็มักจะพบว่าฟันแท้ผุไปด้วย เนื่องจากเด็กที่มีฟันผุจะมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติซึ่งจะส่งผลให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นใหม่นั้นเกิดฟันผุได้เช่นเดียวกัน ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและการปลูกฝังเด็กในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีฟันที่แข็งแรงและไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
แนวทางที่สำคัญที่ใช้การป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบในวัยเรียน คือการส่งเสริมและป้องกันทันตสุขภาพ ซึ่งจะต้องเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเชิงรุกในโรงเรียน ซึ่งเด็กนักเรียนส่วนใหญ่มักบริโภคอาหารจำพวกลูกอม น้ำหวาน และขนมกรุบกรอบ ทำให้เด็กนักเรียนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงมาก เนื่องจากผู้ปกครองยังขาดความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล ได้เล็งเห็นความสำคํยของปัญหาฟันผุในเด็ก จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กเล็ก มีทักษะความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ครู/ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กเล็ก มีทักษะความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก |
50.00 | 100.00 |
2 | เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กเล็ก มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กเล็ก มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก |
50.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 10,900.00 | 0 | 0.00 | 10,900.00 | |
15 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก | 0 | 10,900.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 10,900.00 | 0 | 0.00 | 10,900.00 |
- ครู/ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กเล็ก มีทักษะความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก
- ครู/ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กเล็ก มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2567 00:00 น.