โครงการส่งเสริมสุขภาพดอกไม้เหล็กบานที่กันใหญ่
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพดอกไม้เหล็กบานที่กันใหญ่ |
รหัสโครงการ | 67-L8402-2-24 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 14 |
วันที่อนุมัติ | 10 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 กันยายน 2567 - 30 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 31,642.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางดรุณี ขุนเพ็ชร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.173,100.263place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการหย่าร้างนับเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในทุกสังคม ทุกชนชั้น และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ปัญหาการหย่าร้างถือเป็นดรรชนีชี้วัดความล้มเหลวในการใช้ชีวิตคู่ของสามีภรรยาที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อหลายฝ่ายทั้งต่อคู่สมรส บุตร บิดามารดา และเพื่อนร่วมงานที่ต้องร่วมรับรู้ปัญหาด้วย จากการหย่าร้างดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะต่อสตรีหลังการหย่าร้างหรือที่เรียกว่าหญิงหม้ายจะเกิดปัญหามากที่สุด จากการวิจัยพบว่า สตรีหลังการหย่าร้างจะมีความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกอับอายกับสถานภาพที่เป็นหญิงหม้าย ทำให้เกิดความเครียดที่ต้องเผชิญกับความรู้สึกโดดเดี่ยว มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจบีบคั้น ซึ่งหญิงหม้ายส่วนมากต้องรับภาระในการเลี้ยงดูบุตรตามลำพังเนื่องจากฝ่ายชายไม่ได้ช่วยเหลือจุนเจือเรื่องเงินทอง หญิงหม้ายจึงต้องดิ้นรนหารายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและบุตร จึงทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่เลี้ยงดูบุตรอย่างเต็มที่ได้ และจึงต้องฝากบุตรไว้กับบิดามารดาหรือญาติของหญิงหม้าย บทบาทการทำหน้าที่ทั้งพ่อและแม่จึงไม่สามารถกระทำได้ดีหรือทำได้น้อยมาก แต่ในอีกงานวิจัยกลับพบว่า สตรีหลังการหย่าร้างหรือหญิงหม้ายสามารถปรับตัวเองได้ดี ทั้งด้านการดูแลตนเอง การเลี้ยงดูบุตร การปรับตัวเข้าหาญาติ การปรับตัวด้านเศรษฐกิจ และการปรับตัวด้านเพศสัมพันธ์ หญิงหม้ายเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ดีและใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปรกติสุข ทั้งยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการที่หญิงหม้ายจะสามารถปรับตัวปรับบทบาทของตนให้ได้หรือไม่ได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวหญิงหม้ายเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจด้วย เช่น ถ้าหากเป็นสังคมเมืองการเป็นหญิงหม้ายก็ไม่ใช่เรื่องน่าอับอายแต่อย่างใด เพราะสภาพสังคมมีมิติวิถีชีวิตที่ต่างคนต่างอยู่ ไม่สนใจใครมากนัก สังคมยอมรับการเป็นหม้ายได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้หญิงหม้ายปรับตัวได้เร็ว และไม่เกิดความเครียดนานนัก แต่ถ้าเป็นสังคมชนบทที่มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างแน่นแฟ้น และยังยอมรับเรื่องการหย่าร้างไม่ได้ หรือยอมรับส่วนน้อยหญิงหม้ายจะเกิดความกดดันในการดำรงชีวิต
จากข้อมูลการสำรวจหญิงหม้าย ในพื้นที่หมู่ที่ 5, 7, 9, 10 และ 14 มีจำนวน 237 คน โดยมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น การหย่าร้าง หรือคู่เสียชีวิต ทำให้เกิดปัญหาในครอบครัว ขาดเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว ทำให้บางครอบครัวขาดความอบอุ่น เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว การดำเนินชีวิตในช่วงเศรษฐกิจยุคปัจจุบันนั้นไม่ดี รายได้น้อย ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ทำให้สตรีดอกไม้เหล็กมีความรู้สึกเครียด วิตกกังวล ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนจึงเกิดความตระหนักถึงผู้หญิงเหล่านี้ การพบปะพูดคุย การทำกิจกรรมร่วมกัน และการเรียนนรู้ในการใช้ทักษะชีวิต ทักษะการฝึกอาชีพ ทักษะการส่งเสริมสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ร่วมกับกิจกรรมสังสรรค์ ส่งผลให้สตรีดอกไม้เหล็ก (หญิงหม้าย) มีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าและโรคเครีดได้ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพดอกไม้เหล็กบานที่กันใหญ่ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพกายและจิตสตรีดอกไม้เหล็ก สตรีดอกไม้เหล็กได้ออกกำลังกาย |
80.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านต่างๆ ให้กับสตรีดอกไม้เหล็ก สตรีดอกไม้เหล็กได้รับความรู้จากการร่วมกิจกรรม มากกว่า |
80.00 | |
3 | เพื่อให้สตรีดอกไม้เหล็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน สตรีดอกไม้เหล็กเข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า |
80.00 | |
4 | เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้เสริมจากการทำดอกไม้จันทน์ สตรีดอกไม้เหล็กสามารถทำดอกไม้จันทน์ได้ มากกว่า |
80.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมแกนนำ 5 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 5, 7, 9, 10 และ 14) เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2. สำรวจข้อมูลหญิงหม้ายในพื้นที่ทั้ง 5 หมู่บ้าน 3. ประสานวิทยากร และครูจิตอาสา เพื่อขอสนับสนุนการจัดทำโครงการ 4. จัดทำโครงการ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ พิจารณาและอนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคูหาใต้ ขั้นตอนดำเนินการ 1. ตรวจคัดกรองสุขภาพ 2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิต 3. ฝึกปฏิบัติ โดยวิทยากร ตามรายกการ ดังนี้ 3.1 กิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพท (เต้นบาสโลบ) 3.2 กิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (รำไม้พอง) 3.3 กิจกรรมฝึกการทำดอกไม้จันทน์เพื่อสร้างรายได้ และส่งเสริมสุขภาพจิต ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 2. สรุปผล และรายงานผลการดำเนินโครงการ
- สตรีดอกไม้เหล็ก (หญิงหม้าย) ได้รับการดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
- สตรีดอกไม้เหล็ก (หญิงหม้าย) ได้ทำกิจกรรมร่วมกันและตระหนักในการออกกำลังกาย
- ลดปัญหาโรคซึมเศร้า โรคเครียดในสตรีดอกไม้เหล็ก (หญิงหม้าย)
- สตรีดอกไม้เหล็ก (หญิงหม้าย) ได้เรียนรู้การทำดอกไม้จันทน์ เพื่อเสริมรายได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2567 10:51 น.