กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวน้ำผุดร่วมใจเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L5311-02-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธาน อสม.รพ.สต.น้ำผุด
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 41,815.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาณิศา จรียานุวัฒน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.ย. 2567 31 ธ.ค. 2567 41,815.00
รวมงบประมาณ 41,815.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 93 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย  ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง  บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้   มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย  ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน  ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้  ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบขยะ เกลื่อนกราดตามบ้านเรือนและริมถนน ประกอบกับภาคใต้เป็นเขตร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดทั้งปี เอื้อต่อระบบนิเวศวงจรชีวิตของยุงลายเป็นอย่างยิ่ง  พื้นที่ตำบลน้ำผุด ในเขตบริการสุขภาพของ รพ.สต.น้ำผุด มีจำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4, 5, 6, 9, 10 และ 11 มีประชากร 4,414 คน ในปี พ.ศ.2567 ที่ผ่านพบผู้ป่วยกระจายในทุกหมู่บ้าน รวมจำนวน 21 ราย โดยพบ มากที่สุด หมู่ที่ 10 บ้านวังนาใน จำนวน 7 ราย รองลงมา หมู่ที่ 6 บ้านหนองราโพ จำนวน 5 ราย หมู่ที่ 4 บ้านวังสายทอง จำนวน 4 ราย หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งนางแก้ว 3 ราย และ หมู่ที่ 3 หนองหอยโข่ง หมู่ที่ 11 บ้านวังยาว จำนวน 1 ราย (รายงานฐานข้อมูลระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก รพ.ละงู) สภาพปัญหาที่พบได้แก่ ความตระหนักของประชาชนยังไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย รายเดือน พบว่าทุกหมู่บ้านยังเกินเกณฑ์มาตรฐาน (HI

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อจัดตั้งทีมบริหารจัดการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

1.1 มีทีมเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก 1.2 ดำเนินการควบคุมโรคทันเวลา ตามมาตรการ 3-3-1

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ ให้ความร่วมมือ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค ไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายมีผลคะแนนวัดความรู้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80

0.00
3 3.เพื่อพัฒนาระบบรายงานดัชนีลูกน้ำยุงลาย

มีระบบประมวลผลรายงานดัชนียุงลาย ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปผ่านระบบออนไลน์

0.00
4 4.เพื่อกำจัดแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน/วัด/ โรงเรียน -เพื่อลดอัตราการ ป่วยด้วย ไข้เลือดออก

4.1 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกินเกณฑ์ (HI

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 1. จัดตั้งคณะทำงานจัดการแก้ไขโรคไข้เลือดออก 0 1,235.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 อบรมฟื้นฟูองค์ความรู้การจัดการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก - 5ป 1ข - 3 เก็บ - 3 R 0 16,980.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงใช้ในครัวเรือน 0 18,350.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 สุ่มตรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย 0 5,250.00 -
รวม 0 41,815.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่เป็นแหล่งรังโรค
  2. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกใช้ในการดำเนินงานเกิดประโยชน์ในการวัดประเมินผลการดำเนินงาน
  3. ลดความเสี่ยง ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก สู่หมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 00:00 น.