โครงการใส่ใจดูแล ห่วงใยผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง
ชื่อโครงการ | โครงการใส่ใจดูแล ห่วงใยผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง |
รหัสโครงการ | 67-L8286-3-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ |
วันที่อนุมัติ | 20 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 58,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฟารินทร์ญา แวหนิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายการียา ยือแร |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.769,101.299place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 427 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 177 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุและคนพิการเป็นบุคคลที่มีสภาพร่างกายที่เสื่อมและถดถอยลง เป็นผลที่ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ สามารถเข้ามาเบียดเบียนได้ง่ายหากผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง มีปัญหาต่างๆ ไม่ว่าปัญหาทางครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจด้วยแล้วก็มักจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ ผลที่ตามมานั้นอาจจะเป็นปัญหาทางชุมชนและสังคมต่อไปด้วย เป็นที่ประจักษ์ว่าผู้สูงอายุและผู้พิการนั้น มักมีข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพของตนเอง จำเป็นต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตดี หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอแล้ว ก็น่าเชื่อว่าน่าจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชน ได้อย่างยืนยาวในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและ ผู้พิการนั้นจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายคือตัวผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการและสมาชิกที่รวมอยู่ครอบครัวเดียวกัน ให้ได้มีความรู้ความเข้าใจในงานสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องของการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพการฟื้นฟูสุขภาพ และการดูแลรักษาสุขภาพด้วยในพื้นที่เทศบาลตำบลยะรัง มีผู้สูงอายุทั้งหมด 427 คน เป็นผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 14 คน และผู้พิการจำนวน 177 คน ปัจจุบันในพื้นที่เทศบาลตำบลยะรัง พบว่าผู้สูงอายุและผู้พิการที่อยู่คนเดียวหรือลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุจำนวนมากขาดการดูแลเอาใจใส่ ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรืออยู่กับเด็กในวัยเรียนและก่อนวัยเรียน โดยบุตรหลานวัยทำงานต้อง ดิ้นรนออกไปทำงานนอกพื้นที่เพราะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเกิดการชะลอตัว ค่าครองชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค มีราคาสูงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้บุตรหลานไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ บางรายปล่อยให้ ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพังด้วยเงินเบี้ยยังชีพเท่านั้น ผู้สูงอายุและผู้พิการ หลายรายในสังคม มีโรคประจำตัวหรือต้องเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/กลุ่มติดเตียง ไม่มีโอกาสได้มาออกทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม บางรายอาจเกิดความน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไปโดยอายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย โดยเฉพาะเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง มีภาวะพึ่งพาต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว ผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการประจำตำบลเมาะมาวี จึงได้จัดทำโครงการใส่ใจดูแล ห่วงใยผู้สูงวัย คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียงในเทศบาลตำบลยะรังโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกายสุขภาพจิต มีการจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพให้ผู้อายุและผู้พิการ จัดกิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง และสนับสนุนการบริการและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการให้ครอบคลุมและตอบสนองต่อความจำเป็นของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในท้องถิ่นชุมชนได้มากขึ้น โดยติดตามการดำเนินชีวิต ให้ความรู้ในเรื่องการแลสุขภาพ และส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อการมีภาวะอารมณ์ที่ดี ลดภาวะเครียด เพื่อสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิต และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุและผู้พิการ ในเขตเทศบาลตำบลยะรัง ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการเทศบาลตำบลยะรัง ร้อยละ ผู้สูงอายุและผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงเทศบาลตำบลยะรัง ได้รับการส่งเสริมและการดูแล ได้ทั่วถึง จนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
2.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ร้อยละ กลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง พิการ เพื่อการดูแลที่ดีขึ้น |
2.00 | |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ |
2.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ส.ค. 67 | ก.ย. 67 |
---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ดุแลผู้ป่วยติดเตียง(26 ส.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) | 0.00 | ||
รวม | 0.00 |
1 กิจกรรมสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ดุแลผู้ป่วยติดเตียง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลตำบลยะรัง ได้รับสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง
2.ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง เข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น ลดภาระญาติและผู้ดูแล
3.ผู้สูงอายุและผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงได้รับการช่วยเหลือมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 11:36 น.