โครงการ ผู้ก่อการดี ชีวีปลอดภัย ห่างไกลการจมน้ำ
ชื่อโครงการ | โครงการ ผู้ก่อการดี ชีวีปลอดภัย ห่างไกลการจมน้ำ |
รหัสโครงการ | 2567-L3306-02-010 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ |
วันที่อนุมัติ | 10 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 26,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจำลอง อินนุรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.349,99.958place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่าทุก ๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุก ๆ 1 เดือน จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตประมาณ 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีอัตราเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึง 10,932 คน โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็กและมักจะพบว่าในช่วงปิดภาคเรียน (มีนาคม – พฤษภาคม ) ของทุกปี เป็นช่วงที่มีสถิติเด็กจมน้ำมากที่สุด
จากข้อมูลการเฝ้าระวัง พบว่า เด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆ คนเนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำ และวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จึงมักกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ และจากการศึกษาของสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค พบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีว่ายน้ำเป็นเพียงร้อยละ 23.7 และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เพียงร้อยละ 4.4 ทั้งนี้เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำมีทักษะ การเอาชีวิตรอดในน้ำ และมีทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า 20.7 เท่า และ 2.7 เท่า ตามลำดับ
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ จึงจัดทำโครงการ ผู้ก่อการดี ชีวีปลอดภัย ห่างไกลการจมน้ำ ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในพื้นที่จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาพบว่า เกิดเหตุเด็กจมน้ำเสียชีวิตในแหล่งน้ำพื้นที่เขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองเฉลิม และจากการลงพื้นที่สำรวจพบแหล่งน้ำเสี่ยงในตำบลจำนวน 3 แห่ง จากมูลเหตุดังกล่าวหากจะป้องกันการจมน้ำในเด็กและเยาวชน ซึ่งมีความเสี่ยง หากผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ไม่ระมัดระวังในการดูแลลูกหลาน ปล่อยให้ไปเล่นน้ำตามลำพัง อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ ฉะนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำจัดทำโครงการ ผู้ก่อการดี ชีวีปลอดภัย ห่างไกลการจมน้ำ เพื่อเด็กและเยาวชนมีทักษะการเอาตัวรอดจากเหตุจมน้ำและวิธีการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในพื้นที่ การบริหารจัดการให้มีการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินงานตามมาตรการดำเนินการป้องกันเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ |
||
2 | เพื่อให้เด็กในกลุ่มเสี่ยงสามารถลอยตัวหรือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย สามารถลอยตัวหรือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ |
||
3 | เพื่อสร้างแกนนำในการช่วยเหลือเด็ก หากเกิดกรณีเด็กจมน้ำ ร้อยละ 100 ของแกนนำ มีทักษะในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ |
||
4 | เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก หมู่บ้านในเขตรพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ ตำบลคลองเฉลิม ไม่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.พ. 67 | มี.ค. 67 | เม.ย. 67 | พ.ค. 67 | มิ.ย. 67 | ก.ค. 67 | ส.ค. 67 | ก.ย. 67 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.และผู้นำชุมชน(1 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) | 600.00 | ||||||||
2 | ผู้ก่อการดี ชีวีปลอดภัย ห่างไกลการจมน้ำ(ในเด็ก)(1 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) | 21,100.00 | ||||||||
3 | รณรงค์ป้องกันการจมน้ำในเด็ก โดย การติดป้ารณรงค์และจัดการพื้นที่เสี่ยง(1 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) | 4,950.00 | ||||||||
รวม | 26,650.00 |
1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.และผู้นำชุมชน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 30 | 600.00 | 1 | 600.00 | |
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 | ค่าอาหารว่าง 20 บ * 30 คน = 600 บ. | 30 | 600.00 | ✔ | 600.00 | |
2 ผู้ก่อการดี ชีวีปลอดภัย ห่างไกลการจมน้ำ(ในเด็ก) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 143 | 21,100.00 | 4 | 21,100.00 | |
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 | ค่าวิทยากร 600 บ. * 6 ชม. * 3 คน = 10,800บ. | 3 | 10,800.00 | ✔ | 10,800.00 | |
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 | ค่าอาหารกลางวัน 50บ * 1 มื้อ * 70 คน = 3,500 บ. | 70 | 3,500.00 | ✔ | 3,500.00 | |
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 | ค่าอาหารว่าง 20 บ * 2 มื้อ * 70 คน = 2,800 บ. | 70 | 2,800.00 | ✔ | 2,800.00 | |
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 | ค่าเช่าสระว่ายน้ำ 4,000 บาท | 0 | 4,000.00 | ✔ | 4,000.00 | |
3 รณรงค์ป้องกันการจมน้ำในเด็ก โดย การติดป้ารณรงค์และจัดการพื้นที่เสี่ยง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 4,950.00 | 2 | 4,950.00 | |
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 | ค่าไวนิลโครงการ (ขนาด 1.5 *2.5 เมตร) -300 บ. * 3 ผืน = 900บาท | 0 | 900.00 | ✔ | 900.00 | |
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 | ค่าอุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้จมน้ำ 1,350 บ.*3 = 4,050 บาท | 0 | 4,050.00 | ✔ | 4,050.00 | |
1.มีการบริหารจัดการให้มีการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินงานตามมาตรการดำเนินการป้องกันเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
2. เด็กในกลุ่มเสี่ยงสามารถลอยตัวหรือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้
3. ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบริหารจัดการในการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำตามบทบาทของตนเองได้
4. หมู่บ้านในเขตรพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ ตำบลคลองเฉลิม ไม่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2567 11:40 น.