กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวลาโละร่วมแรง ร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L2514-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอูยิ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 25 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรูซีลามาหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 22,000.00
รวมงบประมาณ 22,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีการระบาดเกือบทุกปี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเป็นมาตรการลดความชุกชุมของยุงทั้งในโรงเรียนหมู่บ้านอย่างตอเนื่องเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนและประชาชนเห็นความสำคัญเช่นทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในทุกวันศุกร์ในโรงเรียนและในชุมชนของตนเอง จากมาตรการการดำเนินงานในการกำจัดลูกน้ำยุงลายต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐเอกชนที่สำคัญประชาชนในหมู่บ้านจะต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ที่คอยให้คำปรึกษาและสนับสนุนในเรื่องของทรัพยากรที่ขาดหรือที่ประชาชนไม่สามารถหาได้เอง สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของอำเภอรือเสาะ ปี ๒๕๕๙ มีผู้ป่วยทั้งหมด มีอัตราป่วย ๓๐๖.๕๖ ต่อแสนประชากร สำหรับตำบลลาโละ พบผู้ป่วย ทั้งหมด ๑๗ ราย อัตราป่วย ๑๘๕.๙๑ ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนดคืออัตราป่วยต้องไม่เกิน50ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมและป้องกันเพื่อมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิได้จัดโครงการชุมชนร่วมแรง ร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๐ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันโรคแก่ประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคเพื่อนำสู่การมีสุขภาพอนามัยที่ดีตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานศึกษา

๑.มีเครือข่ายเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน

2 เพื่อควบคุมมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

๑. สามารถควบคุมโรคสงบไม่เกิน Generation ที่ ๒ ๒. ค่าดัชนีBreteauIndex(BI)ไม่เกิน50 ๓. ค่าดัชนีHouseIndex(HI)ไม่เกิน10 ๔. ค่าดัชนีContenierIndex(CI)ไม่เกิน0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
28 ส.ค. 60 - 1 ก.ย. 60 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำชุมชน ประชาชนในชุมชน 220 22,000.00 22,000.00
รวม 220 22,000.00 1 22,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นวางแผน(Plan) ๑.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒.เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน ๔.ประชุม/ประสานอสม. แกนนำชุมชน โรงเรียนเพื่อชี้แจงและปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำชุมชนประชาชนในชุมชน ๒. จัดกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์โรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานบริการ
๒.๑ อสม. และแกนนำชุมชนให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกและในชุมชนและมัสยิด
๒.๒ อสม. และแกนนำชุมชนแจกสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย ออกพ่นหมอกควันทำลายยุงทั้งในโรงเรียนบ้านและมัสยิด ๒.๓ จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในชุมชน ๒.๔ จัดกิจกรรมสัปดาห์ Big Cleaning Day ๓. ดำเนินการเฝ้าระวัง สอบสวนโรคและออกพ่นหมอกควันทำลายยุงตัวแก่เมื่อมีการระบาดของ โรคไข้เลือดออกทุกราย ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑. ติดตามและประเมินค่า BI CI HI ทุกเดือน ๒. ประเมินอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือด ๓. ประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันมหกรรม ๔.สรุปผลการดำเนินงาน ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑ สามารถสร้างเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานศึกษา ๒ สามารถควบคุมมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2559 14:46 น.