ส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก เทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | ส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก เทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-L7258-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ |
วันที่อนุมัติ | 25 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 1,340,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 0.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (1,340,000.00 บาท)
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล การขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา : ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนบนฐานความรู้และพหุวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดสงขลา : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาและกีฬา สังคมสงเคราะห์และสาธารณสุข เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 การพัฒนาคุณภาพชีวิต แผนงานสาธารณสุข และนโยบายเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งผู้บริหารได้กำหนดนโยบายด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต มีการส่งเสริมสนับสนุนงานด้านสังคมสงเคราะห์ ให้แก่ เด็กและเยาวชน ซึ่งมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๑๐ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับสิทธิตามมาตรา ๕ ความว่า วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์
เด็กคือทรัพยากรอันทรงคุณค่ามีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการดูแลจากครอบครัวและสังคมตลอด จนได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเหมาะสมทุกด้านเพื่อการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ และในปัจจุบันประชาชนกรไทยมีอัตราการเกิดน้อยกว่าอัตราตาย ตั้งแต่ปี 2564 และเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2566 เมื่อจำนวนประชากรลดน้อยลง การพัฒนาคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการพัฒนาในช่วงแรกของชีวิตนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิซึ่งต้องเริ่มดูแลตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดและระยะเด็กปฐมวัย เด็กที่มีคุณภาพจะต้องมีพัฒนาการสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม การพัฒนาเด็กให้มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทุกด้านจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด แต่ในปัจจุบันแม่และเด็กหาดใหญ่ยังประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพในหลายประเด็น ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของแม่และเด็ก ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ การขาดธาตุไอโอดีน ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภาวะโรคต่าง ๆ และการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เป็นต้น
เทศบาลหาดใหญ่ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็ก โดยมีเป้าหมายการส่งเสริมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย โดยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต คือทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ จนถึง อายุ 2 ปี ซึ่งต้องดูแลตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพที่ดี ลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด การดูแลมารดาทารกหลังคลอด เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริมบทบาทพ่อแม่คุณภาพ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดูแลเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพทุกด้าน รวมทั้งการได้รับบริการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทั้งเชิงรับและเชิงรุก ซึ่งเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ผ่านโครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 - 2565 เกิดผลสัมฤทธิ์ทำให้สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารก หลังคลอดและเด็กปฐมวัย โดยให้การดูแลแบบบูรณาการตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ 2. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของ หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอด และเด็กปฐมวัย 3. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและสามารถดูแลตนเองและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 4. เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กปฐมวัย วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารก หลังคลอดและเด็กปฐมวัย โดยให้การดูแลแบบบูรณาการตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
2. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอด และปฐมวัย
3. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและสามารถดูแลตนเองและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4. เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.อัตราการฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ต่ำกว่า 12สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
2.อัตราการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
3.ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (Hct 1) ไม่เกินร้อยละ14
4.อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
31 ต.ค. 67 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนตุลาคม 2567 | 112 | 56,952.00 | ✔ | 56,952.00 | |
22 พ.ย. 67 | กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่ (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 | 35 | 2,725.00 | ✔ | 2,725.00 | |
22 พ.ย. 67 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 | 120 | 61,020.00 | ✔ | 61,020.00 | |
27 ธ.ค. 67 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนธันวาคม 2567 | 127 | 64,579.50 | ✔ | 64,579.50 | |
24 ม.ค. 68 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมกราคม 2568 | 142 | 72,207.00 | ✔ | 72,207.00 | |
28 ก.พ. 68 | กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่ (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2568 | 40 | 2,900.00 | ✔ | 2,900.00 | |
28 ก.พ. 68 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 | 143 | 72,715.50 | ✔ | 72,715.50 | |
28 มี.ค. 68 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมีนาคม 2568 | 128 | 65,088.00 | ✔ | 65,088.00 | |
25 เม.ย. 68 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนเมษายน 2568 | 117 | 59,494.50 | ✔ | 59,494.50 | |
23 พ.ค. 68 | กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่(โรงเรียนพ่อแม่)ประจำเดือน พฤษภาคม 2568 | 40 | 2,900.00 | ✔ | 2,900.00 | |
23 พ.ค. 68 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนพฤษภาคม 2568 | 118 | 60,003.00 | ✔ | 60,003.00 | |
27 มิ.ย. 68 | กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมิถุนายน 2568 | 115 | 58,477.50 | ✔ | 58,477.50 | |
รวม | 1,237 | 579,062.00 | 12 | 579,062.00 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอดและเด็กปฐมวัยมีสุขภาพดี ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน 2.หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอดและเด็กปฐมวัยได้รับการติดตามดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม 3.หญิงตั้งครรภ์ มารดาหละังคลอดและครอบครัวมีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลตนเองและบุตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้อง 4.เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่และเด็กปฐมวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2567 14:43 น.