โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุนปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุนปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5270-4-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน |
วันที่อนุมัติ | 26 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 107,260.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุริยัน ราชผล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 107,260.00 | |||
รวมงบประมาณ | 107,260.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน ได้จัดตั้งขึ้น พ.ศ. 2553 เพื่อให้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุนได้รับบริการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอย่างทั่วถึง และเพื่อสร้างหลักประกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและประสานหน่วยงาน องค์กร หรือภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ร่วมกันค้นหาปัญหา ความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนในชุมชนมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจที่ระบุในข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันจะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตลอดจนทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน ประจำปี 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาศักยภาพ ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯอนุกรรมการกองทุนฯฝ่ายต่างๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน พิจารณาอนุมัติแผนงานโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุน และการดำเนินงานของกองทุนมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุนฯ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด มีการจัดทำบัญชีการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีหรือทรัพย์ของกองทุนฯเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมกรรมการและผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลฯ | 0 | 33,490.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมอนุกรรมการฯ | 0 | 16,170.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบล ประจำปี 2569 | 0 | 12,600.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมฝึกอบรม/เดินทางไปราชการ | 0 | 5,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์/สำนักงาน | 0 | 40,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 107,260.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นตอนวางแผนงาน
ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม
กำหนดวันประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และการประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบล
ขั้นตอนการดำเนินงาน
จัดทำหนังสือเชิญประชุม และติดต่อประสานกลุ่มเป้าหมาย
จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ อาหารว่างและเครื่องดื่ม
จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม
ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
5.1 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี
5.2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี
5.3 จัดประชุมทำแผนสุขภาพตำบลประจำปีงบประมาณ 2569
- สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ
- คณะกรรมการกองทุนฯอนุกรรมการกองทุนฯและคณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพสามารถนำความรู้ มาใช้ในการดำเนินการพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการให้เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
- การบริหารจัดการกองทุน และการดำเนินงานของกองทุนมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุนฯ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ง
ชาติกำหนด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2567 10:12 น.