โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย |
รหัสโครงการ | 68-L5270-5-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน |
วันที่อนุมัติ | 26 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 35,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุริยัน ราชผล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ในเขตพื้นที่ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 35,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 35,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี ในแต่ละปีมีผู้ป่วยจำนวนมากและบางรายถึง
กับเสียชีวิต เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี เมื่อฝนตกลงมาจะมีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย จากสถานการณ์ปี 2567 ตำบลวัดขนุน มีผู้
ป่วยด้วยโรคไข้เลือดและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน 31 ราย โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่ ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ไม่
ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก โดยเน้น
ให้ประชาชนเห็นความสำคัญ กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตลอดจนเครือข่าย
สุขภาพ ให้มีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลายขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อกำจัดตัวแก่ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อัตราความชุกลูกน้ำยุงลาย |
0.00 | |
2 | เพื่อป้องกันการเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายลดลง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 35,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่ จำนวน 4 ครั้ง (ไตรมาสละครั้ง) | 0 | 3,600.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | การพ่นสารเคมีป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย | 0 | 31,400.00 | - |
วิธีดำเนินการ
- ขั้นตอนวางแผนงาน
ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงาน
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.วัดขนุน
3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 รณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (ใส่ทรายทีมีฟอส, ปล่อยปลาหางนกยูง, คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) ไตรมาสละ 1 ครั้ง
3.2. การพ่นสารเคมีป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ในเขตพื้นที่ตำบลวัดขนุน
-ลงพื้นที่ดำเนินการพ่นสารเคมีฆ่ายุงลายตัวเต็มวัย (กรณีเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรค) เฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด
และมัสยิด และการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในกรณีที่เกิดโรค
-มีการเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่ชุมชน โดย อสม. เป็นแกนหลักในการเฝ้าระวังโรคพื้นที่เขตหลังคาเรือนที่ อสม.เป็นผู้รับผิดชอบ
-ดำเนินการพ่นสารเคมีในโรงเรียนช่วงก่อนเปิดเทอม กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
-ดำเนินการพ่นสเปรย์กำจัดยุงตัวแก่ในบ้านผู้ป่วยทันทีหลังได้รับแจ้งมีผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
-ดำเนินการพ่นหมอกควัน ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน เพื่อควบคุมการระบาดของโรค
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายลดลง
- ไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
- ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2567 14:36 น.