กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
รหัสโครงการ 60-005-711-721-731
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยุโป
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 พฤษภาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮูไซพะการะมีแน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนวรัตน์เพ็ชรเรือนทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 298 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สำคัญ จากรายงานการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กไทย อายุ 6 เดือน – 12 ปี พ.ศ. 2553 – 2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey เด็กปฐมวัย (6 เดือน – 5 ปี) พบความชุกโลหิตจาง ร้อยละ 22.4 โดยพบความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบท ร้อยละ 26.5 เขตเมือง ร้อยละ 13.4 เด็กวัยเรียน (6 – 12 ปี) พบความชุกโลหิตจาง ร้อยละ 10.4 โดยพบความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบท ร้อยละ 12.2 เขตเมือง ร้อยละ 6.6 และจากการสำรวจโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2547–2553 ของสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย พบว่า ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มความชุกโลหิตจางสูงขึ้น พ.ศ. 2553 หญิงตั้งครรภ์ มีความชุกโลหิตจาง ร้อยละ 18.4 และจากการรายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 พบความชุกโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15–45 ปี) ร้อยละ 24.8 แนวโน้มความชุกโลหิตจาง ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่อายุมากกว่า 60 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยพบความชุกโลหิตจาง ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60–69 ปี ร้อยละ 34.5 กลุ่มผู้สูงอายุ 70–79 ปี ร้อยละ 48.4 และกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 80 ปี ร้อยละ 60.7 ตามลาดับโดยภาพรวมของสถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของประเทศไทย มีผลกระทบต่อประชาชนไทยทุกกลุ่มวัย ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของประชากรไทยในระยะยาว กรมอนามัย โดยสำนักโภชนาการ ดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในประชาชนไทย โดยมีมาตรการเสริมยาธาตุเหล็กเชิงป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในประชากรกลุ่มเสี่ยง และมาตรการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กนั้น จากการดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่ผ่านมา พบว่า สถานการณ์ปัญหาโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากยังขาดการสื่อสารเชิงนโยบายการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ทำให้นโยบายระดับจังหวัด ในการดำเนินงานดังกล่าวยังไม่เป็นรูปธรรม ร่วมกับประชาชนยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของธาตุเหล็กกับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งมุ่งหวังให้ประชาชนไทยทุกกลุ่มวัยได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพออันจะนำไปสู่สมรรถนะทางสติปัญญาและทางร่างกายอย่างเต็มศักยภาพของประชาชนไทย เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ภาวะโลหิตจางยังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่กำลังพัฒนา สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าขาดธาตุเหล็กทำให้กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ซึ่งได้ระบุไว้ในแผนงานอาหารและโภชนาการแห่งชาติมาตั้งแต่ฉบับแรก กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุมป้องกันมาตลอดโดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยุโปอำเภอเมืองจังหวัดยะลาได้เห็นความสำคัญของภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงมีครรภ์จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อเป็นการค้นหา และรักษาก่อนการตั้งครรภ์เป็นลดภาวะเสี่ยงในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะซีดและ และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะซีด

2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีภาวะซีดได้รับการติดตามจ่ายยาและอาหารเสริม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอด

หญิงวัยเจริญพันธ์ทุกคนที่มีภาวะซีดได้รับการติดตามจ่ายยาและอาหารเสริม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย
  2. เขียนแผนงานโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องภาวะซีด
  4. เจาะเลือดคัดกรองภาวะซีดในกลุ่มเป้าหมาย
  5. ติดตามจ่ายยาและอาหารเสริมแก่ผู้มีภาวะซีด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะซีด 2 หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการเจาะเลือดออดเพื่อคัดกรองภาวะซีด 3 หญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีภาวะซีดได้รับการติดตามจ่ายยาและอาหารเสริม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างการ ตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2559 15:04 น.