โครงการพัฒนาแกนนำวัยทีนสุขภาพจิตและยาเสพติด ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาแกนนำวัยทีนสุขภาพจิตและยาเสพติด ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 21,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพนิดา วรรณวงศ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 105 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงต่อของวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคม ครอบครัว และเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีในปัจจุบัน นับเป็นวิกฤติในช่วงพัฒนาการของชีวิตที่วัยรุ่นต้องเผชิญ ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มของสถานการณ์ปัญหาที่พบในวัยรุ่น ทั้งปัญหาสุขภาพจิตและปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ แต่วัยรุ่นซึ่งมีสิทธิในการรับบริการ มักไม่เข้าหรือเข้าไม่ถึงบริการ อาจเกิดจากการขาดข้อมูล หรือไม่กล้าเข้ารับบริการ
ในอำเภอสุไหงโก-ลก พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นเข้ารับบริการด้วยปัญหาโรคซึมเศร้าใน ปี 2565-2567 ดังนี้ปี 2565 มีจำนวน 60 คน (รายใหม่ 33 คน ) (สุไหงโก-ลก 18 คน), ปี 2566 มีจำนวน 110 คน (รายใหม่ 52 คน ) (สุไหงโก-ลก 40 คน) ปี 2567
มีจำนวน 120 คน (รายใหม่ 48 คน ) (สุไหงโก-ลก 38 คน) ตามลำดับ ส่วนปัญหายาเสพติดพบว่ามีผู้มารับบริการในปี 2565-2567 ดังนี้ปี 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 162 คน (รายใหม่ 10 คน )(สุไหงโก-ลก 53 คน มูโนะ 12 คน ปูโย๊ะ 13 คน ปาเสมัส 39 คน ต่างอำเภอ 45 คน) , ในปี 2566 มีจำนวน 128 คน (รายใหม่ 6 คน ) (สุไหงโก-ลก 45 คน มูโนะ 8 คน ปูโย๊ะ 9 คน ปาเสมัส 28 คน ต่างอำเภอ 38 คน) และในปี 2567 มีจำนวน 158 คน (รายใหม่ 46 คน) (สุไหงโก-ลก 48 คน มูโนะ 9 คน ปูโย๊ะ 9 คน ปาเสมัส 33 คน ต่างอำเภอ 58 คน) ตามลำดับ และพบว่าผู้ใช้สารเสพติดเริ่มใช้ยาเสพติดเมื่ออายุ 12 ปี ดังนั้น กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังกล่าว จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้แกนนำวัยทีนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และความรู้เรื่องสุขภาพจิตและยาเสพติด แกนนำวัยทีนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และความรู้เรื่องสุขภาพจิตและยาเสพติดเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้แกนนำวัยทีนสามารถช่วยเหลือ ส่งต่อ เพื่อนที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดได้ แกนนำวัยทีนสามารถช่วยเหลือ ส่งต่อ เพื่อนที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
40.00 | 80.00 |
3 | เพื่อสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานสุขภาพจิตและยาเสพติดในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาและมีระบบส่งต่อ ช่วยเหลือระหว่างโรงเรียนและสาธารณสุข เกิดเครือข่ายในการดำเนินงานสุขภาพจิตและยาเสพติดในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาและมีระบบส่งต่อ ช่วยเหลือระหว่างโรงเรียนและสาธารณสุข |
10.00 | 7.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 21,600.00 | 1 | 21,600.00 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยทีนในเรื่องสุขภาพจิตและยาเสพติด | 0 | 21,600.00 | ✔ | 21,600.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 21,600.00 | 1 | 21,600.00 | 0.00 |
- แกนนำวัยทีนมีความรู้เรื่องสุขภาพจิตและยาเสพติด
- แกนนำวัยทีนสามารถให้การช่วยเหลือ ส่งต่อ เพื่อนที่มีความเสี่ยงได้
- เกิดเครือข่ายในการดำเนินงานสุขภาพจิตและยาเสพติดในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาและมีระบบส่งต่อ ช่วยเหลือระหว่างโรงเรียนและสาธารณสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2567 15:19 น.