กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Save Your Life รู้ทัน ลดเสี่ยง พิชิต NCDs ชุมชนเสาสัญญาณ ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L6961-1-37
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาดีลาห์ เจ๊ะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนเสาสัญญาณ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (non-communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน สังคมไทยมีความซับซ้อนในการดำรงชีวิต ด้วยข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่หลากหลาย และระบบสุขภาพที่มีความซับซ้อน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม การพัฒนาสมรรถนะให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทาย เพื่อเพิ่มความสามารถของประชาชนให้สามารถควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน บรรลุสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการสร้างสุขภาพด้วยหลัก ๓อ. ๒ส.
จากข้อมูลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 3 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2565 - 2567 พบว่า ผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 ตำบลสุไหงโก-ลก คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปี 2565-2567 ร้อยละ 92.07 92.73 และ 79.72 ตามลำดับ ส่วนผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ตั้งแต่ปี 2565-2567 ร้อยละ 93.72 92.26 และ 80.17 ตามลำดับ จากการรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปในแต่ละปีพบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้นทุกปี และในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง บางคนไม่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกวิธี ในเขตรับผิดชอบศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1และศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง โดยทีมงานควบคุมโรคและระบาดวิทยา จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมด 9 ชุมชน มีดังนี้ ชุมชนโต๊ะลือเบ ผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 81.23 ชุมชนโกลกวิลเลจผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 83.2 ชุมชนตันหยงมะลิผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 80.3 ชุมชนโปฮงยามูผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 84.6 ชุมชนซรีจาฮายาผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 82 ชุมชนศรีอามาลผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 88.36 ชุมชนกือดาบารูผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 82 ชุมชนเจริญทรัพย์ผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 84 และชุมชนบือเร็งใน ผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 85.3
ดังนั้น งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกและศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว และได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ที่ดีขึ้นจึงได้จัดทำโครงการ Save Your Life รู้ทัน ลดเสี่ยง พิชิต NCDs ชุมชนเสาสัญญาณ ปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตสูง เน้นเรื่อง 3อ. (อาหาร ออกกำลัง-กาย อารมณ์) 2ส. (สุรา สารเสพติด)

กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.ได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 Save You Life รู้ทัน ลดเสี่ยง พิชิต NCDs 0 18,600.00 -
รวม 0 18,600.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตสูง เน้นเรื่อง 3อ. (อาหาร ออกกำลัง-กาย อารมณ์) 2ส. (สุรา สารเสพติด)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2567 16:48 น.