กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพทีมควบคุมโรคตำบลยุโป
รหัสโครงการ 60-002-711-721-737
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยุโป
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำนาจซุ่ยดา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนวรัตน์ เพ็ชรเรือนทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค มีความสำคัญต่อระบบการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ เขต และจังหวัด โดยทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เป็นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วประจำหน่วยงานสาธารณสุขที่มีพื้นที่รับผิดชอบในด้านการป้องกัน ควบคุมโรคซึ่งในด้านสมรรถนะบุคลากรเคยมีคำกล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนต้องใช้ระบาดวิทยาในการปฏิบัติงาน” แต่ในด้านสมรรถนะขององค์กร อาจกล่าวได้ว่า “หน่วยงานที่มีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคและภัยทุกหน่วยงาน ต้องมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team หรือSRRT)” เนื่องจาก ปัญหาภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health emergency) ที่มากขึ้นทั้งในด้านความถี่ ขนาด และความรุนแรง รวมถึงขีดความสามารถในการแพร่กระจายปัญหาไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทุกพื้นที่จึงจำเป็นต้องมีทีมงานรับผิดชอบในการเฝ้าระวังปัญหา และสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหากพื้นที่ใดที่มีทีม SRRT ไม่เข้มแข็งจะเป็นจุดอ่อนของการป้องกันควบคุมโรคและอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้โรคทวีความรุนแรงขึ้นได้

เป็นที่ทราบกันดีว่า การระบาดของโรคมักเริ่มต้นในพื้นที่เล็ก ๆ ในชุมชนของตำบลใดตำบลหนึ่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ที่สุดในพื้นที่ ควรได้รับทราบข่าวอย่างรวดเร็วเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรคเบื้องต้นที่ทันเวลา แต่ปัจจุบันการคมนาคมสะดวกสบายมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายเดินทางไปรักษาในโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอำเภอ โดยไม่ผ่านสถานีอนามัยหรือ รพ.สต. บางครั้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบข่าวการเจ็บป่วยของคนในชุมชนจากการแจ้งกลับของโรงพยาบาลที่ไปรักษา บางครั้งทราบจากสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แต่ไม่มีการจัดการที่เป็นระบบหากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ได้รับข้อมูลล่าช้าจะส่งผลให้โรคติดเชื้อที่มีความสามารถในการแพร่โรคได้เร็วระบาดในวงกว้างต่อไปได้ ส่งผลให้การควบคุมโรคทำได้ยากยิ่งขึ้น ฉะนั้น การพัฒนา SRRTเครือข่ายระดับตำบล จะเป็นกลไกสำคัญเพื่อรองรับภารกิจหลักของรพ.สต. ด้านการป้องกันควบคุมโรค และสอดรับกับนโยบายอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคในระดับอำเภอและตำบลมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากเครือข่ายระดับตำบล กระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จึงดำเนินการพัฒนาเครือข่ายโดยผ่านทีม SRRT ที่ได้จัดตั้งไว้แล้ว คือ ทีมระดับอำเภอ จังหวัด เขต และส่วนกลาง ซึ่งสมาชิกทีมได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพในการเฝ้าระวังสอบสวนโรคภัยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งสามารถตอบสนองภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับ SRRT เครือข่ายระดับตำบล หากจะพัฒนาแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแต่ละตำบลจำนวนไม่กี่คน งานป้องกันควบคุมโรคในชุมชนคงยากที่จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ดังนั้น จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือเป็นเครือข่ายกับภาคประชาชน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน บุคลากรสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครปศุสัตว์ตำบล และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปีแรกนี้ จึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการเริ่มต้น คือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมโรคของ รพ.สต.อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ของ รพ.สต. ที่มีการยกระดับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการค้นหา เหตุการณ์ผิดปกติ ควบคุมโรคเบื้องต้น ให้กับ เครือข่ายทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และขับเคลื่อนศักยภาพทีมเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค ระดับตำบลให้มี ความเข้มแข็ง

1 ทีมเคลื่อนที่เร็วสามารถแจ้งเหตุ และเฝ้าระวังโรค ใน หมู่บ้านได้ทันที 2ทีมเคลื่อนที่เร็วสามารถ ป้องกันและควบคุมโรคได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมโรคไม่ให้ เกิดการระบาดของโรคได้

2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 80ต่อแสนประชากร.

1ผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี 2ไม่เกิดการระบาดซ้ำในหมู่บ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ชี้แจงคณะทำงาน เพื่อจัดตั้งทีมทำงานเฉพาะ
  2. จัดอบรม SRRT ตำบลจำนวน 2 วัน
    • วันแรก การให้ความรู้ทางวิชาการ
    • วันที่สอง ฝึกทักษะการสอบสวนโรคและการควบคุมโรค กรณีเกิดการระบาดของโรค
  3. จัดทำคู่มือทางวิชาการและการปปฏิบัติงาน
  4. สนับสนุนการปปฏิบัติงานของเครือข่าย SRRT
  5. นิเทศติดตาม ประเมินผลงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อัตราป่วยไข้เลือดออกลดลง 2 ไม่เกิดการระบาดซ้ำในชุมชน 3ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 4มีทีมควบคุมโรคทุกหมู่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2559 15:15 น.