กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กตาดีการักษาเหา สบายหัวด้วยสมุนไพร
รหัสโครงการ 68-L2983-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) อัลมุกตาซิมบิละห์(ป่าพ้อ)
วันที่อนุมัติ 5 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 28 มีนาคม 2568
งบประมาณ 19,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยารียะ หะยีสะอะ,นางสาวอัสมานีย์ แซโซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2568 28 ก.พ. 2568 19,320.00
รวมงบประมาณ 19,320.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90% ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเหา จะมีอาการคันศรีษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำ โดยใช้สมุนไพรได้ในชุมชน นำมาทำได้เองโดยวิธีที่ง่ายและเห็นผลจริง ดังนั้นโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ตำบลปากล่อได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากล่อเพื่อจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและศีรษะ และการกำจัดเหา นักเรียนโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ตำบลปากล่อ

ร้อยละ 80 นักเรียนโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ตำบลปากล่อมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและศีรษะ และการกำจัดเหา

2 นักเรียนโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ตำบลปากล่อมีความพึงพอใจในโครงการ

ร้อยละ 80 นักเรียนโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ตำบลปากล่อมีต่อโครงการเด็กตาดีการักษาเหา สบายหัวด้วยสมุนไพร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
5 ม.ค. 68 ป้ายไวนิล 0 720.00 -
5 ม.ค. 68 อาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 140 4,200.00 -
5 ม.ค. 68 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 1,800.00 -
5 ม.ค. 68 ค่าแฟ้มเอกสาร 0 5,600.00 -
8 ก.พ. 68 ค่าวัสดุ อุปกรณ์น้ำยาสมุนไพรหมักเหา 140 7,000.00 -
รวม 280 19,320.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ตำบลปากล่อ มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและศีรษะและรู้จักป้องกันการกำจัดเหา
  2. นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น
  3. นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2567 13:38 น.