โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วม ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วม ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5205-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหรัง |
วันที่อนุมัติ | 26 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 15,540.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุวดี จันกระจ่าง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.924,100.591place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 180 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมาโดยตลอด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ตำบลคลองหรัง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 3 ปีย้อนหลังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน ปีพ.ศ.๒๕65 อัตราป่วย เท่ากับ 22.49 (1 ราย)ปีพ.ศ. ๒๕66 อัตราป่วย เท่ากับ 539.81(24 ราย) ปีพ.ศ.2567 เดือนมกราคม-สิงหาคม อัตราป่วย เท่ากับ 324.74 (16 ราย) ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (ที่มา : ระบบสารสนเทศโรคที่ต้องเฝ้าระวัง อำเภอนาหม่อม) ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลคลองหรัง จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยในปี 2566-2567 สูงกว่าเกณฑ์ระดับแระเทศ(50ต่อแสนประชากร) ในการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลคลองหรัง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก มีผู้ป่วยเกินเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและอัตราป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหรัง จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วม ปี 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
|
10.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ชุมชน วัดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
|
0.00 | |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการ ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้องเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรค ไข้ เลือดออก
|
80.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อบรมให้ความรู้(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 9,600.00 | ||||||||||||
2 | กิจกรรมรณรงค์(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 5,940.00 | ||||||||||||
รวม | 15,540.00 |
1 อบรมให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 240 | 9,600.00 | 0 | 0.00 | 9,600.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | 1.1 อบรมให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่แก่ อสม.ผู้นำชุมชน และตัวแทนครัวเรือน 6 หมู่บ้านๆ 30 คน จำนวน 2 รุ่น รวมทั้งหมด 180 คน | 180 | 8,100.00 | - | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | 1.2 อบรมให้ความรู้แกนนำนักเรียนอาสาปราบลูกน้ำยุงลาย 2 โรงเรียน จำนวน 60 คน | 60 | 1,500.00 | - | - | ||
2 กิจกรรมรณรงค์ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 360 | 5,940.00 | 0 | 0.00 | 5,940.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | 2.1 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ โดยการทำ Big Cleaning Day หมู่บ้านละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง | 180 | 2,940.00 | - | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | 2.2 ประเมินค่า HI CI โดยคณะกรรมการระดับตำบลหมู่บ้านละ1 ครั้ง/ปี จำนวน 6 ครั้ง | 180 | 3,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 600 | 15,540.00 | 0 | 0.00 | 15,540.00 |
- สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของมัธยฐาน
- ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน วัด โรงเรียนให้น้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2567 15:08 น.