โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L7250-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา |
วันที่อนุมัติ | 26 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 498,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวสุธิดา นนทพันธ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.200374,100.595693place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยการพัฒนาคุณภาพเด็กไทยต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมารดาและทารก เพราะหากหญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ เช่น ภาวะโลหิตจาง เบาหวาน โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น ประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลนครสงขลามีจำนวน 71,272 คน ซึ่งปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) หญิงตั้งครรภ์ ในเขตเทศบาลนครสงขลามีจำนวนทั้งหมด 137 คน มารดาหลังคลอด มีจำนวน 152 คน และเด็กอายุ 0-5 ปี มีจำนวน 1,036 คน
เทศบาลนครสงขลา ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานปี พ.ศ. 2565 - 2567 เกิดผลสัมฤทธิ์ ทำให้สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
1. อัตราฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 75, 80.48, 78.57 ตามลำดับ
(เกณฑ์ ร้อยละ 75)
2. หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ ไม่มีภาวะซีดก่อนคลอด (เจาะเลือดครั้งแรก) คิดเป็นร้อยละ 97.5, 88.15, 87.75 ตามลำดับ (เกณฑ์ร้อยละ 80)
3. อัตราฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 75, 96.35, 85.71 ตามลำดับ(เกณฑ์ร้อยละ 75)
4. ภาวะมารดาคลอดก่อนกำหนด คิดเป็นร้อยละ 143, 0, 0 ตามลำดับ (เกณฑ์ ไม่มากกว่า ร้อยละ 13.50)
5.ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 85.45, 97.67, 86.66 ตามลำดับ (เกณฑ์ ร้อยละ 90)
6. ทารกแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 87.27, 70.83, 93.33
ตามลำดับ (เกณฑ์ ร้อยละ 50)
7.เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี มีพัฒนาการสมวัยตามลำดับ 94.54, 95.90, 95 (เกณฑ์ ร้อยละ 85)
จากผลการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก ปีงบประมาณ 2567 จะเห็นว่าตัวชี้วัดสุขภาพของมารดาและทารก ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารสุข ดังนั้นงานศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก
ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาพของมารดาและทารก ลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอด มารดาและทารกมีสุขภาพแข็งแรง มีภาวะโภชนาการที่ดี ได้รับบริการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ครบวงจรตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
ระยะคลอด ระยะหลังคลอด อันส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลสุขภาพตลอดอายุครรภ์ 1.1. ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ |
100.00 | |
2 | 2.เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีด มารดาและทารกหลังคลอด 2.ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการไม่มีภาวะซีดก่อนคลอด |
100.00 | |
3 | 3.เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน 3.ร้อยละ 50 ทารกแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน |
100.00 | |
4 | 4.เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม และมีพัฒนาการสมวัย ตามเกณฑ์ 4.1. ทารกแรกเกิด มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 มารกแรกเกิด มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 |
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 60 | 21,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวิทยากร | 0 | 3,600.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วม | 60 | 2,100.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วม | 60 | 4,800.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าหุ่นเด็กทารก | 0 | 2,600.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ | 0 | 700.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าจ้างทำX-Stand | 0 | 4,500.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย | 0 | 1,800.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | นมพร้อมดื่มสำหรับหญิงตั้งครรภ์และไข่ไก่ | 67 | 402,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย | 0 | 1,800.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ตะกร้า พลาสติกมีฝาปิด | 0 | 15,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.4 x 4.8 เมตร จำนวน 1 ป้าย | 0 | 3,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วม | 60 | 2,100.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วม | 0 | 4,800.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าถุงเก็บน้ำนม | 0 | 8,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าชุดนิทานเด็ก | 0 | 5,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวัสดุอุปกรณ์ | 0 | 4,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าหุ่นเต้านม | 0 | 4,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวัสดุสำนักงาน | 0 | 3,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ | 0 | 3,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าถ่ายเอกสารพร้อมเข้าเล่มสรุปโครงการ | 0 | 2,000.00 | - | ||
รวม | 307 | 498,800.00 | 0 | 0.00 |
- หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
- หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดได้รับการติดตามดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.
แม่คนที่ 2 - ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม และได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
- หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลตนเองและบุตร
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้อง
- หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดได้รับการติดตามดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 13:41 น.