โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.คลองหรัง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.คลองหรัง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5205-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหรัง |
วันที่อนุมัติ | 26 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 21,520.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุวดี จันกระจ่าง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.924,100.591place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเรียกอีกย่างว่า NCDs (Non-Communicable Diseases) เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อและไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คน โดยจะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ จนโรคมีความรุนแรงมากขึ้นและกลายเป็นอาการเรื้อรัง ซึ่งปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพทั่วโลก หากมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น (อุไรวรรณ สาสังข์ และคณะ, 2565) ประเทศไทยมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยปี 2562 พบว่า ประชากรในประเทศไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 3,636 มิลลิกรัม หรือเท่ากับเกลือถึง 1.8 ช้อนชา ซึ่งมีปริมาณเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลก แนะนำ 1.5-2 เท่า และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง นอกจากนี้ พบว่า ภาคใต้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในการบริโภคโซเดียมอยู่ที่ 4,107.8 มิลลิกรัม/วัน/คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมจากการรับประทานอาหาร แบ่งออกเป็น การเติมขณะปรุงอาหารร้อยละ 71 อาหารตามธรรมชาติร้อยละ 18 การปรุงรสเพิ่มบนโต๊ะอาหารร้อยละ 11 (กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2566) การบริโภคเกลือและโซเดียมมากเกินไปจะส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะความดัน โลหิตสูง ซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในปี 2562 พบจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 14 ล้านคน (ร้อยละ 25.4) เท่ากับ 1 ใน 4 ของคนไทย ทั้งหมดที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ลดการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลากหลายครบ 5 หมู่ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้แข็งแรง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น ลดอัตราการเต้นของหัวใจทั้งในขณะพักและออกกำลังกาย ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย ลดแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายทำให้ความดันโลหิตลดลง ลดปริมาณไขมันชนิด Triglyceride LDL และเพิ่ม HDL cholesterol จึงลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน รวมถึงช่วยส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ และลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ จากข้อมูลในรายงาน HDC จังหวัดสงขลา (ที่มา รายงาน HDC สงขลา ณ วันที่ 25 ส.ค.67 )พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในตำบาลคลองหรัง จำนวน 721 ราย ควบคุมความดันโลหิตได้ 274 ราย คิดเป็นร้อยละ 38 และร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) จากจำนวน 204 ได้รับการประเมิน เพียง 167 คิดเป็นร้อยละ 81.07 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (เกณฑ์ มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90) ซึ่งข้อมูลดังกล่าว หากผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงควบคุมภาวะของโรคไม่ได้ มีผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาเรื้อรัง เพื่อหาแนวทางการดูแลรักษาและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหรัง ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา จึงจัดทำโครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.คลองหรัง ปี 2568เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารรสเค็ม และอาหารมัน และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมความรู้และความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวานมี พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. ๒ ส.และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการไม่มีภาวะแทรกซ้อน |
80.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 100 ผู้ป่วยในคลินิกได้รับการเฝ้าระวังติดตาม |
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมออกกำลังกายแบ่งเป็นฐาน 3 ฐาน | 140 | 2,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมติดตามอาการและติดตามค่าความดันโลหิตในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน | 140 | 7,500.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ในชุมชนเรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อน แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในตำบลคลองหรัง จำนวน 70 ราย | 70 | 8,170.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน พร้อมเจาะเลือดประจำปีเพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนให้กับผู้ป่วยในคลินิก รพ.สต.คลองหรังจำนาน 70 ราย | 140 | 3,550.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมรณรงค์ตรวจจอประสาทตา ตรวจเท้า แช่เท้า สำหรับผู้ป่วยเบาหวานในตำบลคลองหรัง จำนวน 200 คน | 140 | 300.00 | - | ||
รวม | 630 | 21,520.00 | 0 | 0.00 |
- กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดี และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2567 09:07 น.