โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5307-4-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน |
วันที่อนุมัติ | 26 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 153,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมพงค์ โต๊ะเอียด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด) | 7.40 | ||
2 | จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ) | 33.00 | ||
3 | จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน) | 15.00 | ||
4 | จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน) | 20.00 | ||
5 | จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา) | 6.00 | ||
6 | ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ | 65.72 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง และที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต โดยมีกิจกรรมที่กองทุนสามารถสนับสนุน แยกได้เป็น 8 ประเภท คือ กิจกรรมเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่น กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยที่บริหารจัดการหรือดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชนหรือการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนหรือการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชน กิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ กิจกรรมกิจกรรมเพื่อสนับสนุนเป็นค่าจ้างหรือค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขอื่น ตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพเพื่อเข้ารับบริการสาธารณสุข ซึ่งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น ๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนเพื่อใช้ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนเป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 % |
7.40 | 6.50 |
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน) |
15.00 | 17.00 |
3 | เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน) |
20.00 | 22.00 |
4 | เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ) |
33.00 | 34.00 |
5 | เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น |
65.72 | 71.43 |
6 | เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ |
6.00 | 7.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดซื้อครุภัณฑ์ วัสดุและอุปกรณ์ | 30 | 15,740.00 | ✔ | 2,556.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ | 30 | 17,720.00 | ✔ | 15,720.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมติดตามประเมินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน | 0 | 10,500.00 | ✔ | 2,700.00 | |
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการสำหรับผู้รับทุน | 0 | 4,200.00 | ✔ | 4,200.00 | |
14 พ.ย. 67 | ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 1 | 8 | 2,640.00 | ✔ | 2,640.00 | |
28 พ.ย. 67 | กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1 | 25 | 10,750.00 | ✔ | 10,350.00 | |
11 ธ.ค. 67 | ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 2 | 8 | 2,640.00 | ✔ | 2,640.00 | |
25 ธ.ค. 67 | กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 2 | 25 | 10,750.00 | ✔ | 10,350.00 | |
1 ม.ค. 68 | กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 3 | 25 | 10,750.00 | ✔ | 9,950.00 | |
12 ก.พ. 68 | ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 3 | 8 | 2,640.00 | ✔ | 2,340.00 | |
7 มี.ค. 68 | ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ครั้งที่ 1 | 12 | 3,960.00 | ✔ | 3,360.00 | |
23 เม.ย. 68 | กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 4 | 25 | 10,750.00 | ✔ | 9,150.00 | |
24 เม.ย. 68 | ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ครั้งที่ 2 | 12 | 3,960.00 | ✔ | 3,660.00 | |
21 พ.ค. 68 | กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 5 | 25 | 10,750.00 | - | ||
12 มิ.ย. 68 | ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 4 | 8 | 2,640.00 | ✔ | 2,340.00 | |
19 มิ.ย. 68 | ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ครั้งที่ 3 | 12 | 3,960.00 | - | ||
25 มิ.ย. 68 | กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 6 | 25 | 10,750.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2569 | 60 | 7,200.00 | - | ||
24 ก.ย. 68 | กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 7 | 25 | 10,750.00 | - | ||
รวม | 363 | 153,050.00 | 14 | 81,956.00 |
ผลผลิต
1. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %
2. คณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) คณะอนุกรรมการกองทุนฯ และผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ ได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ ร้อยละ 90
3. มีกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
ผลลัพธ์
ทำให้คุณภาพการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนเป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2567 00:00 น.