โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน PLUS สู่ 2500 วัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน PLUS สู่ 2500 วัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5307-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ตำบลบ้านควน 2 |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 20,880.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเบญจมาภรณ์ หลีเส็น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ที่ 1 และ 4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ | 85.19 | ||
2 | ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง | 74.07 | ||
3 | ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด | 40.74 | ||
4 | ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน | 67.86 | ||
5 | ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด | 100.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
1,000 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นกำเนิดของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาททำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 – 3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญของ ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน แนวทางการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้ง กลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือกลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน
จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 85.19 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 74.07 หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 100 ภาวะภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 40.74 เด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 67.86 เด็กอายุครบ 12 เดือน มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 40 เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 61.45 เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 94.59 (ข้อมูลจาก HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2567) ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 จึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน PLUS สู่ 2500 วัน เพื่อส่งเสริมให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย พัฒนาการสมวัย สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพมารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงเด็กอายุ 5 ปี รวมถึงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ |
0.00 | 75.00 |
2 | เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามมาตรฐาน ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามมาตรฐาน |
0.00 | 75.00 |
3 | เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 12 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดใกล้คลอด |
12.00 | |
4 | เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 50 ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน |
0.00 | 50.00 |
5 | เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 56 ของเด็ก 0-5 ปี มีโภชนาการสูงดีสมส่วน |
56.00 | |
6 | เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 ของเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย |
85.00 | |
7 | เพื่อลดภาวะซีดในเด็กอายุ 6-12 เดือน ร้อยละ 20 ของเด็กอายุ 6-12 เดือนที่มีภาวะซีด |
20.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,880.00 | 0 | 0.00 | |
3 - 28 ก.พ. 68 | อบรมฟื้นฟูความรู้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข | 0 | 5,880.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมเด็กดี มีคุณภาพ | 0 | 9,000.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและติดตามเด็กที่มีปัญหาโภชนาการและพัฒนาการสงสัยล่าช้า | 0 | 1,800.00 | - | ||
1 - 31 มี.ค. 68 | อบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว | 0 | 3,600.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ | 0 | 600.00 | - |
1.เกิดความร่วมมือผ่านภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
2.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
3.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์และภาวะซีด พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนครอบครัวและเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
4.ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือ DSPM ตรวจพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง
5.เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2567 00:00 น.