โครงการโรคติดต่อในเด็กป้องกันได้โดยวัคซีน
ชื่อโครงการ | โครงการโรคติดต่อในเด็กป้องกันได้โดยวัคซีน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 31,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวจารียะ เจะอาลี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 180 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ เป็นกลวิธีและหลักสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้โดยวัคซีน โดยบรรจุไว้ใต้แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยการให้วัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ด้วยการผสมผสานเข้ากับการบริการสาธารณสุขตามระบบปกติ
จากผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 3 ปีย้อนหลัง พบว่า กลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลบือมัง
อำเภอรามัน จังหวัดยะลา พบว่า ปี พ.ศ.2565 2566 2567 เป็นร้อยละ57.64 ,62.75 70.75 ตามลำดับซึ่งความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะการครอบคลุมการได้รับวัคซีนกลุ่มเด็กอายุ 1, 2,3 และ 5 ปี ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ประกอบกับความรู้ ทัศนคติของผู้ปกครองในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบัน ยังคงเกิดสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุกส่งผลให้การดำเนินงานาร้างเสริมภูมิคุ้มกันมีความครอบคลุมไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จากกลุ่มเป้าหมายเด็ก 180 คน เด็กปฏิเสธวัคซีน 20 คน เด็กรับวัคซีนล่าช้า 160 คน หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ทำให้มีแนวโน้มการเกิดโรคที่สามารถป้องได้มากยิ่งขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ 0-5 ปี จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการป้องกันโรคโดยวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้เด็กอายุ 0- 5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครบชุดตามเกณฑ์อายุ ความครอบคลุมวัคซีน ร้อยละ 90 |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ลดการเกิดโรคโดยวัคซีน |
0.00 | |
3 | 3.เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ปกครอง เด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 31,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการ | 0 | 1,500.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนในกลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เกี่ยวกับวัคซีน | 0 | 28,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี | 0 | 1,500.00 | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับการสร้างเสริมคุ้มกันโรค ครบชุดตามเกณฑ์อายุ
2.ลดการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3.ผู้ปกครองเกิดความตระหนักในการนำบุตรหลานมารับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2567 00:00 น.