กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-3 ปี โดย อสม. ตำบลพิจิตร
รหัสโครงการ L5208-2-2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมณีรัตน์บุญเต็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.991,100.561place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการตรวจสภาวะช่องปาก พ.ศ. ๒๕๕๙ ในกลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี ในอำเภอนาหม่อม มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ ๔๑.๖๓ ในตำบลพิจิตรพบอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ ๕๐.๓๕ ในตำบลนาหม่อมพบอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ ๓๓.๓๓ ในตำบลทุ่งขมิ้นพบอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ ๔๓.๔๕ ในตำบลคลองหรังพบอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ ๓๙.๔๐ ซึ่งจัดว่าเป็นปัญหาที่สูงทางทันตสุขภาพ ซึ่งช่องปากเป็นประตูสำคัญของสุขภาพ สุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ถ้าบุคคลมีสุขภาพดี จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วัยเด็ก การเกิดโรคฟันผุในเด็กมีปัจจุบันเกี่ยวข้องหลายด้าน ทั้งความแข็งแรงของฟันที่ขึ้นมา อาหาร การทำความสะอาด ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุในเด็กเล็กได้ โดยต้องอาศัยการเอาใจใส่ดูแลจากผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นสำคัญ และต้องเอาใจใส่ดูแลตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นมาในช่องปาก ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างทำให้ทันตบุคลากรไม่สามารถเข้าถึงเด็กเล็กได้ตั้งแต่้ฟันขึ้นในช่องปาก เด็กและผู้เลี้ยงดูจึงได้รับการส่งเสริมป้องกันที่ล่าช้าและไม่ครอบคลุมเพื่อป้องกันการเกิดฟันผุ ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็ก เด็กที่มีฟันน้ำนมผุจะมีเชื้อโรคในช่องปากมากกว่าเด็กที่มีฟันไม่ผุ การมีฟันน้ำนมผุจึงอาจมีผลให้ฟันน้ำนมซี่อื่นๆ ในปากรวมถึงฟันแท้ผุมากขึ้น ด้วยเหตุนี้การจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชนจึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะใช้ในการรณรงค์และกระตุ้นความสนใจของผู้ปกครองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังนั้นในปีงบประมาณ ๒๕๖๐เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอนาหม่อมร่วมกับ อสม.ตำบลพิจิตร จึงจัดกิจกรรมโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กอายุ ๐-๓ปี โดย อสม. ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลาในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ขึ้นเพื่อให้เกิดการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กเล็ก ๓ ปี โดย อสม. ในหมู่บ้าน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นความตระหนักของผู้เลี้ยงดูเด็กโดย อสม. ซึ่งเป็นบุคลากรในพื้นที่ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นสู่ช่องปากและส่งผลให้ลดอัตราการเกิดฟันผุในกลุ่มเด็ก ๓ ปี ในภาพรวมได้ในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็กได้

 

2 เพื่อให้เด็กอายุ ๐-๓ ปี ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ ๑.จัดทำโครงการ ๒.เชิญกลุ่มเป้าหมายและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมวางแผน ๓.กำหนดกิจกรรมและกลวิธีดำเนินงาน ๔.เตรียมสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน ๔.๑ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารการอบรม และงบประมาณ ๔.๒ อาหารและเครื่องดื่มสำหรับการอบรม ขั้นการดำเนินงาน ๑.อบรมผู้ปกครองโดยทันตบุคลากร ๑.๑ ให้ความรู้เรื่อง ความสำคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี พัฒนาการการขึ้นของฟัน สาเหตุที่ทำให้ฟันผุในเด็ก ลักษณะฟันปกติ ฟันเริ่มผุ ฟันผุ การดูแลช่องปากเด็ก (อาหาร วิธีการให้อาหาร การทำควาสะอาด) ๑.๒ ฝึกปฎิบัติการตรวจ การบันทึก การทำความสะอาดช่องปาก การให้คำแนะนำ ๒.เยี่ยมบ้านโดย อสม. และทันตาภิบาลในช่วงแรกจน อสม. สามารถทำได้เองทุก ๓ เดือน ๒.๑ ให้ความรู้ ตรวจช่องปาก (ความสะอาด รอยโรค พัฒนาการการขึ้นของฟัน) สาธิตการทำความสะอาด ๒.๒บันทึกสภาพช่องปากจากการตรวจ และการดูแลจากการพูดคุยในสมุดบันทึกประจำตัว ๓.นัดเด็กมาทาฟลูออไรด์วานิชโดยทันตบุคลากรที่ รพสต. หรือจุดรวมของหมู่บ้าน ทุก ๓ เดือน/ราย จนเด็กเข้าเรียนในสถาบัน ๓.๑ ตรวจฟัน ความสะอาด ให้คำแนะนำ ๓.๒ ทาฟลูออไรด์วานิช ให้คำแนะนำหลังทำพร้อมบันทึกการได้รับฟลูออไรด์สมุดบันทึกประจำตัว ๓.๓ นัดหมายครั้งต่อไปในสมุดบันทึกประจำตัว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เลี้ยงดูเด็กได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ๒.อสม. มีความรู้ สามารถ่ายทอดความรู้ และดูแลเด็กในหมู่บ้านของตนเองได้ ๓.กลุ่ม อสม. ในตำบลพิจิตร สามารถเป็น อสม. ต้นแบบ และถ่ายทอดให้ อสม. ในตำบลอื่นๆ ได้ ๔.เด็ก ๐-๓ ปีไม่เกิด caries ใหม่ และแปรงฟันสะอาดมีสุขภาพช่องปากที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2559 09:39 น.