กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการเต้นแอโรบิค
รหัสโครงการ 68-L5205-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแอโรบิค บ้านคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 14,462.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลักษมี ศรีนวล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากเว็ปไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุไว้ว่า ด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยี วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันจึงถูกปรับเปลี่ยนโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนสมัยก่อน ความสมดุลของกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อภาวะสุขภาพ ตั้งแต่การนอนหลับไปจนถึงกิจกรรมที่ทำขณะตื่น มีผลการวิจัยระบุว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ อาทิ ในผู้ที่อายุ 18 ขึ้นไป “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” มีความ สัมพันธ์กับอัตราการตายจากโรคหัวใจหลอดเลือด โรคเบาหวาน และภาวะของเมตะบอลิคซินโดรม หรืออาจเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “โรคอ้วนลงพุง” มีสาเหตุเริ่มต้นจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม กินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล และไขมันสูง และข้อมูลตามคู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD (Clinic Plus) กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ระบุว่า สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม สถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น ภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และระดับความดันโลหิตสูง นำไปสู่การเกิดโรค ถ้าหากไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการปัจจัยเสี่ยงและควบคุมสภาวะโรคอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งโรคเหล่านี้ สามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ ๒/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเด็นการพัฒนาที่ ๒ การส่งเสริมและพัฒนาการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อมวลชนให้เป็นวิถีชีวิต ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เห็นชอบให้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนรวมกลุ่ม/ชมรมส่งเสริมการออกกำลังกายให้เป็นวิถีชีวิต อย่างน้อยชุมชน/ท้องถิ่น แห่งละ ๑ กลุ่ม/ชมรม ส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชนทุกกลุ่มอายุ ทุกสภาพร่างกายในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน องค์กรภาคประชาสังคม หรือภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาของชุมชน
จากข้อมูลดังกล่าว ข้างต้น ชมรมแอโรบิคบ้านคลองหรัง หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหรัง ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ทำให้ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค ประจำปี ๒๕๖๘ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. มากขึ้น
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. มากขึ้น
90.00
2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคที่ถูกวิธี
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคที่ถูกวิธี
20.00
3 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม
  1. เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ไม่น้อยกว่า 5 คน
5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ต.ค. 67 การอบรมให้ความรู้ เรื่อง 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) 20 2,732.00 -
15 พ.ย. 67 1.1 การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ 20 6,730.00 -
16 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ (ส่งเสริมการรวมกลุ่มออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค) 20 5,000.00 -
รวม 60 14,462.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่อง 3 อ. อาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์ที่เหมาะสม
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นแบบอย่างที่ดี และมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ควบคุมน้ำหนักตัว ให้มีรอบเอวที่เหมาะสม และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ และมีสุขภาพที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2567 14:41 น.