กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย "โตไปไม่จม"
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดบ่อแดง
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,735.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,100.454place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากกองป้องกันบาดเจ็บ ( กลุ่มป้องกันการบาดเจ็บทั่วไป) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๗) มีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จมน้ำเสียชีวิต ๗,๗๙๔ คน เฉลี่ยปีละ ๗๗๙ คนหรือวันละ ๒ คน กลุ่มเด็กอายุ ๕ - ๙ ปี มีสัดส่วนการเสียชีวิตสูงที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๗) รองลงมาคือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี (ร้อยละ ๓๕.๔) ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นเดือนที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เพราะตรงกับช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อน โดยเฉลี่ยปีละ ๒๖๓ คน แหล่งน้ำตามธรรมชาติ บ่อขุดเพื่อการเกษตรยังคงเป็นแหล่งน้ำที่พบการจมน้ำสูงสุด (ร้อยละ ๓๓.๒) อย่างไรก็ตาม กลุ่มเด็กอายุ ๐ - ๒ ปีพบจมน้ำเสียชีวิตสูง เฉลี่ยถึงปีละ ๑๖๑ คน (ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการจมน้ำภายในบ้านและละแวกบ้านของตนเอง เพราะขาดการจัดการพื้นที่เล่นที่ปลอดภัยให้เด็ก ทั้งนี้เด็กเล็ก สามารถจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย ประมาณ ๑ - ๒ นิ้ว) เด็กที่ตกลงไปในน้ำ (เฉพาะที่ทราบสถานะความสามารถในการว่ายน้ำ)พบว่า ร้อยละ ๕๗.๙ ว่ายน้ำไม่เป็น เด็กที่ตกลงในน้ำ (เฉพาะที่ทราบสถานะ การใช้เสื้อชูชีพ) พบว่า ร้อยละ ๖๘.๔ ไม่สวมเสื้อชูชีพ ขณะที่เกิดเหตุจมน้ำพบว่า เด็กอยู่กับเพื่อนมากที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๕) รองลงมาคืออยู่กับผู้ปกครอง (ร้อยละ ๓๒.๖)เด็กที่จมน้ำพบว่า เสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุมากที่สุด (ร้อยละ ๕๒.๖) รองลงมาคือ เสียชีวิต ณ โรงพยาบาล/ห้องฉุกเฉิน (ร้อยละ๑๓.๒) และมีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ผิดวิธี โดยการกระโดดลงไปช่วย ถึงร้อยละ ๒๗.๕

จากข้อมูลดังกล่าวโรงเรียนวัดบ่อแดง(จอกประชานุกูล) เห็นถึงความจำเป็นในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ประกอบกับพื้นที่ของตำบลบ่อแดงมีแหล่งน้ำต่างๆ มากมาย เช่น สระน้ำ ทะเล บ่อน้ำและและแหล่งน้ำ ต่างๆ อีกมากมาย จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กเพื่อให้ครูผู้ปกครองได้สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง โดยโรงเรียนได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง ดังนี้ ๑. การใช้สระว่ายน้ำหรืออ่างเล่นน้ำทั้งในโรงเรียน บ้าน และสถานที่ต่าง ๆ สอนให้เด็กปฐมวัยรู้จักอันตรายจากการจมน้ำ ๒. จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เฝ้าระวังดูแลป้องกันคุ้มครองเด็ก และสอนเด็กให้รู้จักกฎแห่งความปลอดภัย คือ สอนให้เด็กวัยนี้รู้จักหลีกไกลแหล่งน้ำเมื่ออยู่ตามลำพัง สอนให้เห็นก็ใช้ชูชีพเมื่อต้องเดินทางทางน้ำ สอนเลี้ยงตัวเมื่อตกน้ำ เพื่อให้โผล่พ้นน้ำชั่วขณะ และสอนให้ว่ายน้ำระยะสั้นๆเพื่อให้ตะกายเข้าฝั่งได้ ๓. การสอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง
๔. สอนให้ครู ผู้ปกครอง และเด็กรู้จักการช่วยเหลือคนตกน้ำหรือจมน้ำ โดยเน้นหนัก "ตะโกน โยน ยื่น" ที่สอนให้เด็กตะโกนขอความช่วยเหลือเมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือมีเพื่อนจมน้ำ ที่สำคัญต้องร่วมกันให้ความรู้อย่างถูกต้องในเรื่องสมรรถนะเด็ก แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึงบุคลากรผู้สอน เน้นการสอน "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" และการตะโกนขอความช่วยเหลือซึ่งครูและผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องมีความรู้ ในการดูแลและสอนบุตรหลาน ให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ชีพหรือปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี ดังนั้น โรงเรียนวัดบ่อแดง(จอกประชานุกูล) ได้จัดทำโครงการ "โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย" (โตไปไม่จม) เพื่อฝึกทักษะเสริมประสบการณ์การว่ายน้ำและเล่นน้ำอย่างปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัย และการอบรมให้ความรู้ ป้องกันและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง หากพบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ให้กับครูและผู้ปกครอง ขึ้นในปีงประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักในการป้องกันจากการจมน้ำในเด็ก การเล่นน้ำอย่างปลอดภัยการปฐมพยาบาลถูกวิธี และรู้จักวิธี การกู้ชีพ/ปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง ถูกวิธีสำหรับเด็กจมน้ำ ๒. เพื่อให้เด็กในระดับปฐมวัยของโรงเรียนวัดบ่อแดง(จอกประชานุกูล)ที่ร่วมโครงการฯ สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย และมีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ เด็กรู้จักการช่วยเหลือคนตกน้ำ หรือจมน้ำ โดยเน้นหนัก "ตะโกน โยน ยื่น" ๓. เพื่อให้กลุ่มครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็ก สามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(Basic Life Support) เน้นการสอน "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" ๔. เพื่อให้พื้นที่เสี่ยงมีการติดป้ายประกาศเตือนตามจุดเสี่ยง ต่างๆ และจัดหาอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือเด็ก จมน้ำ เช่น เชือก ไม้ แกลลอน เป็นต้น

๑. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ การปฐมพยาบาลถูกวิธี และรู้จักวิธี การกู้ชีพ/ปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง ถูกวิธีสำหรับเด็กจมน้ำ ๒. เด็กปฐมวัยของโรงเรียนวัดบ่อแดง(จอกประชานุกูล)ว่ายน้ำเป็น สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย และมีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ ๓. กลุ่มครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็ก สามารถช่วยชีวิตชั้นพื้นฐาน(Basic Life Support) เน้นการสอน "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" ๕. ผู้ผ่านการอบรมสามารถลอยตัวในน้ำได้ ๖. พื้นที่เสี่ยงมีการติดป้ายประกาศเตือนตามจุดเสี่ยงต่างๆ และจัดหาอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ เช่น เชือก ไม้ แกลลอน เป็นต้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันและช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ การปฐมพยาบาลถูกวิธีและรู้จักการกู้ชีพ/ปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง ถูกวิธี สำหรับเด็ก ๒. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือคนตกน้ำหรือจมน้ำ โดยเน้นหนัก "ตะโกน โยน ยื่น" ๓. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(Basic Life Support) เน้นการสอน "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" ๔. การสำรวจและจัดทำข้อมูลแหล่งน้ำที่เสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้านและในชุมชน สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน ปรากฏการณ์ Rip Current ๕. มีการติดป้ายประกาศเตือนตามจุดเสียงต่างๆ และจัดหาอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ เช่น เชือก ไม้ แกลลอน เป็นต้น ๖. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ๗. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ การปฐปฐมพยาลถูกวิธี และรู้จักวิธีการกู้ชีพ/ปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง ถูกวิธี สำหรับเด็กจมน้ำ ๒. เด็กปฐมวัยของโรงเรียนวัดบ่อแดง (จอกประชานุกูล)ว่ายน้ำเป็น สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย และมีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ เด็กรู้จักการช่วยเหลือคนตกน้ำหรือจมน้ำ โดยเน้นหนัก "ตะโกน โยน ยื่น" ๓. เด็กปฐมวัยของโรงเรียนวัดบ่อแดง(จอกประชานุกูล) สามารถช่วยชีวิตชั้นพื้นฐาน(Basic Life Support) เน้น การสอน "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" ๔. ผู้ปกครอง ครูและเด็กปฐมวัย มีความรู้ในการป้องกันเด็กจมน้ำและการปฐมพยาบาล อย่างถูกวิธี ๕. การสำรวจและจัดทำข้อมูลแหล่งน้ำที่เสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้านและในชุมชน สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน ปรากฏการณ์ Rip Current ๖. พื้นที่เสี่ยงมีการติดป้ายประกาศเตือนตามจุดเสียงต่างๆ และจัดหาอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือเด็ก จมน้ำ เช่น เชือก ไม้ แกลลอน เป็นต้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2567 10:55 น.