โครงการบือมังประสานใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการบือมังประสานใจ ต้านภัยไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 55,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอารีณี ยาหะแม |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอักรอม ดือราแม |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อแสนประชากร ปี 2566 | 225.95 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศ ดังนั้นการดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค จึงควรดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ เน้นในการจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียน บ้านเรือน ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ โรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝน เพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่ง พบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด
จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (506) กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 25 กันยายน 2567 (สัปดาห์การระบาดที่ 38) สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2567 พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า พ.ศ. 2566 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 1.3 เท่า โดยในปี 2567 พบอัตราป่วย 124.32 รายต่อแสนประชากร ในปี 2566 พบอัตราป่วย 163.69 รายต่อแสนประชากร แต่ก็พบว่าอัตราป่วยในปี 2567 สูงกว่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2562-2566)
สำหรับพื้นที่ตำบลบือมัง จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (506) ของตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2567สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกของตำบลบือมัง ในปี พ.ศ. 2567 พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า พ.ศ. 2566 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 1.19 เท่า โดยในปี 2567 พบอัตราป่วย 188.93 รายต่อแสนประชากร ในปี 2566 พบอัตราป่วย 225.95 รายต่อแสนประชากร แต่ก็พบว่าอัตราป่วยในปี 2567 สูงกว่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2562-2566) พบผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่ในปี 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 19 ราย อัตราป่วย 357.75 รายต่อแสนประชากร รองลงมา ปี 2562 พบผู้ป่วยจำนวน 16 ราย อัตราป่วย 289.70 รายต่อแสนประชากร ปี 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย อัตราป่วย 56.23 รายต่อแสนประชากร และข้อมูลการคาดการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2567 มีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้ จึงจัดทำโครงการบือมังประสานใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ ไม่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านเดียวกัน ในช่วงระยะเวลาติดต่อกัน 28 วัน นับจากวันที่พบผู้ป่วยรายแรก |
0.00 | |
2 | เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือในชุมชน มีการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุก ๆ 7 วัน |
0.00 | |
3 | เพื่อให้เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลบือมัง มีเครือข่ายเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลบือมัง จำนวน 1 ทีม |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการ | 0 | 1,500.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | จัดอบรมให้ความรู้แนวทางการจัดการและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน | 0 | 14,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | จัดอบรมให้ความรู้แนวทางการจัดการและควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน | 0 | 14,000.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย | 0 | 17,300.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | คัดเลือกบ้าน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิดต้นแบบ ปลอดลูกน้ำยุงลาย | 0 | 6,750.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 | สรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 1,500.00 | - | ||
รวม | 0 | 55,050.00 | 0 | 0.00 |
- มีภาคีร่วมปฏิบัติการในพื้นที่ของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลบือมัง จำนวน 1 ทีม
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
- ไม่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบือมัง
- อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2567 00:00 น.