โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8367-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลจะนะ |
วันที่อนุมัติ | 10 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 70,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายหมัด หีมเหม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 11 ต.ค. 2567 | 31 ธ.ค. 2567 | 28,600.00 | |||
2 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 41,400.00 | |||
รวมงบประมาณ | 70,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 570 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ในชุมชนยังเกินร้อยละ 10 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI ในโรงเรียนยังเกินร้อยละ 0 และศาสนสถานยังยังเกินร้อยละ 5 ทำให้เกิดความชุกของลูกน้ำยุงลายมีแนวโน้มทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก เนื่องจากค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI – CI ยังเกินเกณฑ์ที่กำหนด | 0.00 | ||
2 | ประชาชนบางส่วนยังปล่อยปละละเลยในการจักการสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและรอบ ๆบ้านของตัวเอง | 0.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด โดยเฉพาะโรคติดต่อ ที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ซึ่งในแต่ละปีจะมีประชาชนป่วยเป็นจำนวนมาก เพราะการติดต่อและแพร่ระบาดของโรครวดเร็วขึ้น และมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนในแง่การเจ็บไข้ได้ป่วยการพิการและการเสียชีวิตของประชาชน เนื่องจากความรุนแรงของโรค ซึ่งประชาชนมีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและภัยสุขภาพด้วยกันทุกคน โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ
ตำบลบ้านนา โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง พื้นที่ตำบลบ้านนา พ.ศ. 2563 , 2564 , 2565 , 2566 และ2567 พบว่า อัตราป่วย 66.84 , 24.30, 0 , 666.84 , 710.94 และ 358.51 ต่อประชากรแสนคน และยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต (งานระบาดวิทยา สสอ.จะนะ) ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ร้อยละ 20
จากสถิติดังกล่าวยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกือบทุกปี บางปีไม่มีผู้ป่วย เนื่องจากทีผ่านมามีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) บางปีฝนทิ้งช่วงยาว ดังนั้นในการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก คือ การป้องกันโรคล่วงหน้าซึ่งต้องดำเนินการก่อนการเกิดโรค หากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมโรคจะทำได้ลำบากและสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในบ้านนอกบ้าน ตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค เก็บบ้าน (ให้ปลอดโปร่ง ไม่ให้ยุงเกาะพัก) เก็บขยะ (กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง) เก็บน้ำ (ปิดฝาให้มิดชิด ไม่ให้ยุงวางไข่ หากปิดไม่ได้ให้เปลี่ยนบ่อย ๆ/เทน้ำทิ้ง) ป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า เป็นวิธีทีดีที่สุด
ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านนา กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลจะนะ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลจะนะไม่ให้เกินเป้าหมายที่กำหนด อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ร้อยละ 20 |
||
2 | เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน และศาสนสถาน ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ในชุมชนน้อยกว่าร้อยละ 10 CI โรงเรียนเท่ากับ 0 และศาสนสถานน้อยกว่าร้อยละ 5 |
||
3 | ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกมากกว่าร้อยละ 90 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมที่ 1 ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน(15 ต.ค. 2567-31 ธ.ค. 2567) | 600.00 | ||||||||||||
2 | กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่ ทต.จะนะ(16 ต.ค. 2567-15 ก.ย. 2568) | 56,000.00 | ||||||||||||
3 | กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกรายชุมชน(1 ม.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 12,800.00 | ||||||||||||
4 | กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสรุปผล(1 ส.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 600.00 | ||||||||||||
รวม | 70,000.00 |
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 20 | 600.00 | 0 | 0.00 | 600.00 | |
15 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 | กิจกรรมที่ 1 ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน | 20 | 600.00 | - | - | ||
2 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่ ทต.จะนะ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 56,000.00 | 0 | 0.00 | 56,000.00 | |
15 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่ ทต.จะนะ | 0 | 56,000.00 | - | - | ||
3 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกรายชุมชน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 30 | 12,800.00 | 0 | 0.00 | 12,800.00 | |
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกรายชุมชน | 30 | 12,800.00 | - | - | ||
4 กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสรุปผล | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 20 | 600.00 | 0 | 0.00 | 600.00 | |
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสรุปผล | 20 | 600.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 70 | 70,000.00 | 0 | 0.00 | 70,000.00 |
- อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกพื้นที่เทศบาลตำบลจะนะลดลง
- ค่า HI ในชุมชนน้อยกว่าร้อยละ 10 ค่า CI ในโรงเรียนเท่ากับ 0 และศาสนสถานน้อยกว่าร้อยละ 5
- สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายให้น้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2567 08:27 น.