โครงการส่งเสริมสุขภาพดี ชีวีมีสุข (Music Therapy = คาราโอเกะ) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพดี ชีวีมีสุข (Music Therapy = คาราโอเกะ) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ่อแดง |
วันที่อนุมัติ | 20 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 เมษายน 2568 - 30 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,495.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.406,100.454place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
"การร้องเพลง" เป็นหนึ่งสิ่งง่ายๆที่จะช่วยคลายความเครียดและสร้างความสุขเล็กๆ น้อยๆให้แก่ตัวได้ในทุกที่ทุกเวลา ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการช่วยให้สุขภาพจิตถูกชักจูงไปในทางที่ดีเท่านั้น แต่สุขภาพกายก็พลอยแข็งแรงตามไปด้วยอีกต่างหาก การร้องหรือการเปล่งเสียงของมนุษย์ไม่ได้มีไว้เพื่อการสื่อสารเพียงเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในการระบายอารมณ์ ปลดปล่อยอารมณ์ สื่ออารมณ์ และและแสดงถึงความทุกข์ สุข เศร้า เหงา หรือรักได้ ด้วยเหตุนี้เอง การเปล่งเสียงร้องจึงเป็นวิธีที่สามารถผ่อนคลายความเครียดที่ต้องผชิญมาตลอดทั้งวัน รวมถึงเป็นการบำบัดร่างกายที่เสื่อมโทรมจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกวิธีด้วย มากไปกว่านั้นหากได้ฝึกฝนการร้องเพลงอย่างถูกวิธี ก็ยังจะช่วยในเรื่องของสุขภาพร่างกายได้อีก ด้วยมากไปกว่านั้น นอกจากการร้องเพลงจะทำให้มีอารมณ์ที่ดีแล้ว ยังช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นได้อีกตัวย เพราะในขณะที่เรากำลังร้องเพลง อวัยวะทุกส่วนในร่างกายจะได้ทำงานสอดประสานไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นสมองที่ดี เนื่องจากจะต้องคอยจดจำเนื้อร้องหรือทำนองต่างๆ หูที่ดีเพื่อใช้ในการฟังจังหวะดนตรีเพื่อออกเสียงร้องให้ตรงตามทำนองที่ควรจะเป็น โพรงอากาศในจมูกที่ดีเพื่อช่วยในเรื่องการหายใจที่ถูกต้องในระหว่างร้องเพลง ลิ้นที่ดีเพื่อใช้เป็นอวัยวะในการควบคุมการเปล่งเสียง หลอดลมที่ดีเพื่อ ทำหน้าที่ในการขนส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดได้อย่างเป็นระบบ กล่องเสียงที่ดีเพื่อทำหน้าที่ในการป้องกันท่อลมและทำให้เกิดเสียงร้องที่ไพเราะเพราะพริ้ง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอวัยวะภายนอกอย่างกล้ามเนื้อ แขน ขา ข้อมือและเท้าที่ดี ที่จะเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนร่างกายให้พลิ้วไหวไปตามเสียงเพลง
จะเห็นได้ว่าการร้องเพลงมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายที่แข็งแรงหรือสุขภาพจิตที่แจ่มใส ซึ่งหากเราสามารถทำได้เช่นนี้ก็ย่อมจะช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันมีความสุขได้มากยิ่งขึ้น ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ่อแดง จึงเล็งเห็นว่าเสียงเพลงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อคนได้ร้องเพลง ฟังเพลง เล่นดนตรี และฟังเสียงจากดนตรีและหรือจากการเต้นรำ ซึ่งเกิดจากการร้องรำทำเพลง ทำให้สุขภาพจิตและอารมณ์ดี และสุขภาพทางกายภาพมีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการร้องเพลง จะทำให้เราหายเหงา ทำให้มีชีวิตชีวา ทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้นจากเหตุผลดังกล่าวชมรมผู้สูงอายุตำบลบ่อแดง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพดี ชีวีมีสุข (Music Therapy = คาราโอเกะ) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อส่งเสริมการดูแลด้านสุขภาพจิตและอารมณ์ ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพทางกายมีสุขภาพที่ดี ๑. ร้อยละ ๘๐ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจดีขึ้น สามารถ ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลบ่อแดง เพื่อวางแผนงาน เตรียมการและแบ่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ๒. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณจากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดง ๓. ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรม ๔. ดำเนินการดนตรีบำบัด จำนวน ๑๐ ครั้ง (ครั้งละ ๓ ชั่วโมง) ๕. กิจกรรมออกกำลังกายรำวงมาตรฐานประกอบดนตรีบำบัด ๖. สรุป/ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการฯ)
๑. เพื่อส่งเสริมการดูแลด้านสุขภาพจิตและอารมณ์ ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพทางกายมีสุขภาพที่ดี ๒. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางกาย ๓. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งจะนำไปสู่การมีจิตใจที่ดี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2567 10:53 น.