โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลปาดัง ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลปาดัง ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8301-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ทต.ปาดัง |
วันที่อนุมัติ | 24 กันยายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 31 มกราคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 17 กุมภาพันธ์ 2568 |
งบประมาณ | 70,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวีระ โรจนอาชา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปีงบประมาณ 2567 โรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยจำนวนมากในทุกกลุ่มวัยและประชาชนก็ยังไม่ตระหนักและรู้ถึงความรุนแรงของโรคนี้ โดยครัวเรือนยังไม่มีการจัดการขยะที่ถูกต้อง การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ไม่ดีทำให้ยุงลายขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกมากขึ้นด้วย โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ มียุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายไปกัดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เชื้อจะฟักตัวในยุงประมาณ 8 -10 วัน และเก็บไว้ในต่อมน้ำลาย เมื่อยุงไปกัดคนที่ปกติ ก็จะปล่อยเชื้อเข้าไปในตัวคนทำให้ป่วยเป็นไข้เลือดออก ทำให้มีอาการตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรงมาก แต่ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างเฉียบพลันและไข้จะสูงตลอดทั้งวันประมาณ 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ส่วนใหญ่มีอาการหน้าแดง อาจมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และเบื่ออาหาร ต่อมาไข้จะลดลง ในระยะนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอาการรุนแรง อาจมีภาวะช็อกและเสียชีวิตได้โดยโรคไข้เลือดออก มี 4 สายพันธุ์ เมื่อติดเชื้อสายพันธุ์ใดแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น แต่ก็มีโอกาสที่จะติดสายพันธุ์อื่น ๆ ได้อีก ซึ่งการติดเชื้อครั้งที่สองอาจรุนแรงกว่าครั้งแรก
สำหรับ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 มค. – 14 สค. 67) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 2,623 ราย มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นอันดับที่1 ของเขตสุขภาพที่ 12
สำหรับกลุ่มอายุที่มากที่สุดคือ 10-14 ,5-9 และ 15-19 ตามลำดับ และยังพบในวัยแรงงาน อีกทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย จากสถานการณ์การระบาดฯ และเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ รพ.สต.ท่าข่อย,รพ.สต.บ้านไร่, รพ.สต.เขารูปช้าง, ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ อถล.และ อสม. ในเขตพื้นที่ ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมจัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปาดัง ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ “โรคไข้เลือดออก” ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน หน่วยงานราชการ ศาสนสถานต่างๆในพื้นที่ 3. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มอายุลดลง 2.ลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน หน่วยงานราชการ ศาสนสถานต่างๆในพื้นที่ลดลง 3.ประชาชนเห็นความสำคัญเกิดความตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2567 11:12 น.