โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างความปลอดภัยการใช้ยาในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างความปลอดภัยการใช้ยาในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L1482-02-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว |
วันที่อนุมัติ | 1 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,810.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปนิดา เจะโสะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนา มีหมู่บ้านรับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน มีร้านขายของชำ ทั้งหมด 16 ร้าน และจากการสำรวจร้านค้า พบว่ายังมีร้านค้าร้านชำ นำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานผิดกฎหมายมาจำหน่ายให้แก่คนในชุมชนและจากการสอบถามผู้ประกอบการและประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับพิษภัยของการใช้ยา พบว่ายังขาดความรู้และผลข้างเคียงที่ตามมา ซึ่งจากการดำเนินงานเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคตลอดมา ได้ให้คำแนะนำและตรวจสอบอยู่เป็นประจำ แต่ประชาชนในชุมชนยังมีความต้องการในการยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อันตราย จึงยังมีการจำหน่ายอยู่ในชุมชน จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาวจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างความปลอดภัยการใช้ยาในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในชุมชนมีความชัดเจนและเฝ้าระวังป้องกันจากการใช้ยา สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งครอบคลุมประเด็นการใช้ยาชุด ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์และยาปฎิชีวนะ โดยไม่จำเป็นเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทั้งยาชุด ยาสมุนไพร ยาเสตียรอยด์และยาปฎิชีวนะ อย่างสมเหตุและสมผล ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทั้ง ยาชุด ยาสมุนไพรยาเสตียรอยด์และยาปฎิชีวนะอย่างสมเหตุและสมผล |
0.00 | |
2 | เพื่อร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งจำหน่ายยาชุด ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์และยาปฎิชีวนะในชุมชน มีการเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งจำหน่ายยาชุด ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์และยาปฎิชีวนะในชุมชน |
0.00 | |
3 | เพื่อลดปัญหาและผลข้างเคียงจากการใช้ ยาชุด ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์ และยาปฎิชีวนะโดยไม่สมเหตุสมผลในชุมชน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาชุด ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์และยาปฎิชีวนะโดยไม่สมเหตุสมผลในชุมชนลดลง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 12,810.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมเชิงปฏิบัติการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างความปลอดภัยการใช้ยาในชุมชน | 0 | 12,810.00 | - |
- ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทั้ง ยาชุด ยาสมุนไพรยาเสตียรอยด์และยาปฎิชีวนะอย่างสมเหตุและสมผล
- มีการเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งจำหน่ายยาชุด ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์และยาปฎิชีวนะในชุมชน
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาชุด ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์และยาปฎิชีวนะโดยไม่สมเหตุสมผลในชุมชนลดลง
- มีการเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งจำหน่ายยาชุด ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์และยาปฎิชีวนะในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2567 00:00 น.