โครงการเผชิญเหตุปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการเผชิญเหตุปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลบือมัง |
วันที่อนุมัติ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 51,743.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอะห์หมัดกัสดาฟี มะฆุนิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 6522 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 4.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถิติ ปี 2567 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก จำนวน 21 หลังพ่น 63 ครั้ง ของบ้านพักอาศัยทีผู้ป่วยอาศัยอยู่และหลังคาเรือนพื้นที่ในรัศมี 100 เมตร ของหลังคาเรือนเป้าหมาย เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังโรคดังกล่าวโดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการแก้ไขปัญหาและควบคุมสถานการณ์โรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพซึ่งการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยวิธีพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ดำเนินการทั้งในเวลาราชการและวันหยุดราชการ โดยวันทำการการพ่นสารเคมี ดำเนินการโดยพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับค่าชุดเครื่องมืออุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE ของผู้ปฏิบัติงาน ค่าสารเคมีกำจัด นอกเวลาราชการและวันหยุดราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ในปี 2568
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันแก้ไขโรคไข้เลือดออก และเพิ่มเติมในวันหยุดราชการ ในกรณีที่ได้รับแจ้งเหตุจากหน่วยงานภาคี ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรามัน โรงพยาบาลรามัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง และหน่วยงานอื่นที่ขอความร่วมมือให้ดำเนินการพ่นสารเคมีเพื่อแก้ไข ควบคุมโรคไข้ออกให้ทันท่วงที ในช่วงในเวลาและเวลานอกราชการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นหน่วยงานภาครัฐที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลบือมัง จึงได้จัดทำโครงการเผชิญเหตุปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขึ้นเพื่อเฝ้าระวังและป้องโรคไข้เลือดออกในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ) |
4.00 | 100.00 |
2 | เพื่อควบคุมสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในช่วงนอกเวลาราชการหรือวันหยุดราชการในทันท่วงที ในช่วงวันหยุดราชการมีการดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยวิธีพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย |
4.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 51,743.00 | 0 | 0.00 | 51,743.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | อบรมและฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุงอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ | 0 | 8,900.00 | - | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | พ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ในวันเวลาราชการและวันหยุดราชการหรือนอกเวลาราชการ | 0 | 42,843.00 | - | - | ||
28 - 30 ก.ย. 68 | ประเมินผลการปฏิบัติงาน | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 51,743.00 | 0 | 0.00 | 51,743.00 |
สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2567 00:00 น.