โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ตำบลนาประดู่
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ตำบลนาประดู่ |
รหัสโครงการ | 68-L2981-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ |
วันที่อนุมัติ | 29 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 21,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุธาทิพย์ จันทคุตโต |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางฟาฏิมะฮ จารู |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพของคนในชุมชน แม้ว่าอาหาร และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมีมาตราการภาครัฐสำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์หลายชนิดในร้านอาหาร และร้านชำที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมาโดยตลอด จากการสำรวจร้านค้าในเขตตำบลนาประดู่ ปี 2567 พบว่ามีตลาดประเภทที่ 1 จำนวน 1 แห่ง, ตลาดประเภทที่ 2 จำนวน 1 แห่ง, ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 2 ร้าน และร้านชำ จำนวน 33 ร้าน การดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริโภค ด้านอาหาร เครื่องดื่มผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอางรวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ ในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญสื่อความรู้ต่าง ๆ เข้าไม่ถึงหรือยังมีน้อย พบว่ามีร้านค้าในชุมชน รวมทั้งรถเร่ นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ประชาชนในชุมชน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในคลื่นวิทยุชุมชน ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภคด้านต่างๆ อาจตกเป็นเหยื่อ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาเหล่านั้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาปฏิชีวนะและอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ทำให้เกิดการรับสารที่อันตรายและได้รับอย่างไม่สมเหตุสมผล ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนระยะยาว ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ตำบลนาประดู่ขึ้นมา เพื่อเป็นการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์และอาหารที่ไม่ปลอดภัยและเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ อสม.ในชุมชนอันจะส่งผลให้คนในชุมชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและร้านชำที่ถูกต้อง อสม. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและร้านชำที่ถูกต้อง |
40.00 | 40.00 |
2 | เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและร้านชำภายในเขตพื้นที่ มีการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและร้านชำภายในเขตพื้นที่เพิ่มขึ้น |
40.00 | 40.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 21,250.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร ร้านชำและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อสม.ในเขตตำบลนาประดู่ | 0 | 14,750.00 | - | ||
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | ออกตรวจประเมินแนะนำร้านชำ/ร้านแผงลอยและตลาดนัดในเขตรับผิดชอบ | 0 | 6,500.00 | - |
อสม. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและร้านชำที่ถูกต้อง
ร้านชำ ร้านค้าแผงลอยและตลาดนัดได้รับการตรวจตรวจประเมินด้านความปลอดย
ประชาชนได้บริโภคอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2567 10:06 น.