กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเหาหาย สบายหัว
รหัสโครงการ 68-L1482-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหนองหว้า
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 6,516.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอนงค์นาฏ มีสัตย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหาเป็นปรสิตภายนอก (ectoparasite) ของคน ดูดกินเลือดเป็นอาหาร การอาศัยอยู่ของเหาทำให้มีการสูญเสียเลือด โดยผู้ที่เป็นเหาจะเกิดอาการคันเนื่องจากโปรตีนในน้ำลายของเหา การเกาทำให้ผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย ภาวะที่คนมีเหาอาศัยอยู่เรียกว่า “Pediculosis” โดยรายที่เป็นเรื้อรังการเกาอาจทำให้ผิวหนังหยาบกร้านและมีสีคล้ำ เรียกว่าVagabond‘s disease ในประเทศไทยโรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในเด็กนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอน เป็นโรคที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป และยังทำให้สุขภาพไม่ดี ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะ แล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดย ใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซึ่งยามีทั้งในรูปครีมเจล หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน ดังนั้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองหว้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียนบ้านหนองหว้าร้อยละ 80 ไม่มีเหา

แบบสำรวจความพึงพอใจ

0.00
2 นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนบ้านหนองหว้ามีความรู้เรื่องเหาและมีสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง

ปริมาณเหาก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหาและการดูแลรักษาสุขภาพของศรีษะ ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายและบุคลากรในโรงเรียนบ้านหนองหว้า 0 3,316.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมกำจัดเหา 0 3,200.00 -
รวม 0 6,516.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหว้า มีความรู้เรื่องเหาและมีสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
  2. กำจัดเหาตามกลุ่มเป้าหมาย 3.นักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2567 00:00 น.