กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(care giver)ในพื้นที่ตำบล Long Term Care ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(care giver)ในพื้นที่ตำบล Long Term Care ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
รหัสโครงการ 61 L5256 2 03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพอ
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2561 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 88,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.553,100.91place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยสำรวจล่าสุดเมื่อปี 2558 พบว่าผู้สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนกว่าร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้นถึง 17 ล้านคน ภายในปี 2583 ซึ่งมากกว่า1 ใน 4 ของประชากรไทยทั้งหมด ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ เป็น โรคเรื้อรัง สมรรถภาพทางกายถดถอย และความผิดปกติทางอารมณ์ ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้อเสื่อม ฯลฯ ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันทำได้น้อยลง จากการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL) ตำบล LTC ผู้สูงอายุตำบลทุ่งพอ ปี 2560 มีผู้สูงอายุทั้งหมด 817 คน พบกลุ่มผู้สูงอายุติดติดเตียงเคลื่อนไหวเองไม่ได้ จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 0.73)ติดบ้านเคลื่อนไหวได้บ้าง จำนวน 92 ราย (ร้อยละ 11.26) รวมทั้งหมด 98 ราย (ร้อยละ 11.99)จากการสนทนากลุ่มผู้สูงอายุ (Focus group discussion ) ข้อจำกัดการดูแลในกลุ่มติดบ้านติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลทุ่งพอ พบว่ายังมีผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ผู้ดูแลเหนื่อยล้า ประสบกับความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ต้องพึ่งพาผู้ดูแลและญาติพี่น้องในการใช้ชีวิตประจำวันมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ฯลฯ หากผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแลคงจะต้องเป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดบริการไว้รองรับผู้สูงอายุกับการดูแลระยะยาวเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยพึ่งพาน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงรู้สึกมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุของค์ประกอบในความสำเร็จในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) ทุนทางสังคมในด้านที่เป็นคนชุมชนเดียวกัน มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ระบบคุณค่า ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ความไว้วางใจกัน เอื้ออาทร ช่วยเหลือกันและกัน 2) ผู้นำในชุมชนและอาสาสมัครมีความเสียสละทำด้วยใจ 3) อาสาสมัครทำงานต่อเนื่องและชัดเจน มีการจดบันทึกในการปฏิบัติงาน (ปาณญาดา เสถียรเขตต์, 2555) การมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จะช่วยให้การดูแลที่เหมาะสม ลดความเหนื่อยล้าของญาติ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลทุ่งพอ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง จึงได้จัดทำโครงการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ในระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การเตรียมความพร้อมก่อนการจัดอบรม1.1 จัดเตรียมหลักสูตร/เอกสารจัดอบรม1.2 จัดทำคู่มือ สำหรับ Care giver 1.3 จัดทำคู่มือการสอนสำหรับวิทยากร1.4 จัดทำแบบสอบถาม สำหรับ Care giver1.5 คัดเลือก Care giver เข้าอบรม 2.จัดอบรม Care giver หลักสูตร 76 ชั่วโมง จำนวน 34 คน ระยะเวลาฝึกอบรม 11 วันจัดการอบรมภาคทฤษฎี จำนวน 25 ชั่วโมง ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาลและในชุมชน จำนวน 51 ชั่วโมง 3.ประเมินผลการจัดกิจกรรมอบรม 3.1 กิจกรรมการอบรม ประเมินความรู้และทักษะของ Care giver ก่อน - หลังการอบรม ประเมินเกี่ยวกับการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง จัดทำทะเบียน/ทำเนียบ Care giver และ สนับสนุนการดำเนินงานของ Care giver 3.2 สรุปผลการติดตาม/การดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคการทำงานของ Care giver 3.3 สรุปรายงาน ผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2561 16:21 น.