โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลปากล่อ |
วันที่อนุมัติ | 4 ตุลาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 4 ตุลาคม 2559 - 31 พฤษภาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 37,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวิโรจน์ จงอุรุดี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายประภัสสร ขวัญกะโผะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.62,101.187place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 411 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : ระบุ |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 1773 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 3299 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 870 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 6353 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ก็พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ ประกอบกับทุกวันนี้ยังไม่มียาที่ใช้รักษาโรคไข้เลือดออก หรือวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ระบาดของยุงลาย
องค์การบริหารส่วนตำบลปากล่อ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมาได้แพร่ระบาดมากในหมู่ที่ 2 , 3 , 5 และ 7 ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่ที่ 7 ได้เสียชีวิตลง 1 ราย อัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปีนี้พบตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม และอาจจะถึงเดือนธันวาคมซึ่งเป็นหน้าฝนทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างดี ชีวนิสัยของยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากล่อ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ไข้เลือดออกที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2560 ออก โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน เพื่อเป็นการกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค และเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุ ประชาชนในตำบลปากล่อมีอัตราป่วยลดลงร้อยละ 80 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๑. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระหว่าง อบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. ผู้นำชุมชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวางแผนดำเนินการ
๒. ให้ความรู้ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
๓. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย
๔. ดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย จำนวน 9 หมู่บ้าน
๕. แจกทรายอะเบทให้ประชาชนใส่ในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน บริเวณน้ำท่วมขังต่าง ๆ โรงเรียนและสถานที่ต่าง ๆ
๖. สรุปผลการดำเนินการ
๑. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลปากล่อลดลง
๒. สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้าน ชุมชน โรงเรียน วัด
สถานบริการสาธารณสุข
๓. ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
๔. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
๕. สามารถทำให้ชุมชนลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2559 10:27 น.