กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารและพัฒนาศักยภาพกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3018-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองรูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 282,324.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบันเทิง ล่องจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชนในพื้นที่

ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ.2567 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนหรือส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ

เทศบาลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้ลงนามความร่วมมือจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตำบลรูสะมิแล ในการดำเนินงานกองทุนฯ ดังกล่าว คณะกรรมการกองทุนจึงเป็นกลไกหนึ่งที่จะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนกองทุนให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยการปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าของประชาชนในพื้นที่นั้น จำเป็นที่คณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการกองทุนชุดต่างๆจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ตลอดจนจะต้องเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำกิจกรรม หรือพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาด้วยตนเอง การฝึกอบรม หรือการศึกษาดูงานหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแลขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคณะกรรมการกองทุนฯให้สามารถดำเนินงานต่างๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

6 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 282,324.00 0 0.00 282,324.00
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ค่าจ้างพนักงานประจำกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 81,000.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 33,600.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ และเจ้าหน้าที่กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 8,400.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ค่าเบี่ยประชุมคณะอนุกรรมการ LTC กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 12,000.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 8,400.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการการเงินและบัญชี กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 6,000.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะกรรมการ, อนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ, อนุกรรมการ LTC, อนุกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ, อนุกรรมการการเงินและบัญชี และเจ้าหน้าที่กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 7,000.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารกลางวันคณะกรรมการ, อนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ, อนุกรรมการ LTC, อนุกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ, อนุกรรมการการเงินและบัญชี และเจ้าหน้าที่กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 24,000.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล 0 86,569.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 วัสดุสำนักงาน 0 15,355.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 282,324.00 0 0.00 282,324.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงการจัดบริการในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนได้ง่าย

2.ประชาชนสามารถบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกหล่อในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนได้

3.มีการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนฯอย่างน้อย ร้อยละ 90

4.มีการจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นได้อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2567 10:05 น.