โครงการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 2568
ชื่อโครงการ | โครงการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3018-07-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 7 การใช้เงินตามมติบอร์ด |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแล |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 ธันวาคม 2567 - 30 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 217,185.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมพงค์ ทองสังข์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.864,101.207place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจประชากรสงูอายุในประเทศไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเพิ่มจากร้อยละ 6.8 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 19.6 ในปี 2564 จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากการลดลงของจำนวนและสัดส่วนของประชากรวัยแรงงานจะกระทบศักยภาพการผลิต นอกจากนี้การเพิ่มประชากรสูงอายุยังสะท้อนการเพิ่มขึ้นของภาวะทางการคลัง จากจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ นอกเหนือจากปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุยังเผชิญปัญหาสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และระบบการดูแลที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงความมั่งคงทางรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจากครอบครัวยากจน นอกจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาทักษะในการทำงาน การดำรงชีวิตในสังคมให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในขณะที่ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ยังไม่มีส่วนร่วมในการทำงานพัฒนาประเทศเท่าที่ควร
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตตำบลรูสะมิแล ในปีงบประมาณ 2567 แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน พบว่าจากผู้สูงอายุทั้งหมด 2,531 คน เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล จำนวน 41 คน และบุคคลที่ต่ำกว่า 60 ปี ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 1.62 บางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาเรื้อรังและพิการตามมา เป็นภาระของครอบครัวและชุมชน ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของครอบครัว เนื่องจากผู้ดูแลบางคนต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง และปัญหาระดับประเทศชาติ คือ ภาระค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเมื่อเกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแล เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุและเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ ที่มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้จัดทำโครงการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2568 เพื่อดุแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจากผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล (Care Giver)
|
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ช่วงบั้นปลายของชีวิต
|
||
3 | เพื่อพัฒนางานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 10 | 217,185.00 | 0 | 0.00 | 217,185.00 | |
2 ธ.ค. 67 - 30 พ.ค. 68 | งบประมาณ (ค่าตอบแทน CM , นักบริบาล , อสม.) | 0 | 18,000.00 | - | - | ||
2 ธ.ค. 67 - 30 พ.ค. 68 | งบประมาณ (ค่าใช้สอย) | 0 | 315.00 | - | - | ||
2 ธ.ค. 67 - 30 พ.ค. 68 | งบประมาณ (ค่าวัสดุ) | 10 | 148,480.00 | - | - | ||
2 ธ.ค. 67 - 30 พ.ค. 68 | งบประมาณ (ครุภัณฑ์) | 0 | 50,390.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 10 | 217,185.00 | 0 | 0.00 | 217,185.00 |
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการที่มีคุณภาพที่บ้าน ได้ทั่วถึงมากขึ้น
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี เข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียมกัน เป็นการสร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทรและสมานฉันท์
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น จากกลุ่มติดเตียงเป็นติดบ้านและจากกลุ่มติดบ้านเป็นติดสังคม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2567 11:59 น.