โครงการขลิปหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม (เข้าสุนัตหมู่) ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการขลิปหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม (เข้าสุนัตหมู่) ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3062-001-003 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานบริหารงานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอตันหยง |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 17 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 67,145.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสูไลดา ยากะจิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ที่ 1-8 ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | เยาวชนมุสลิมชายอายุระหว่าง 6 - 12 ปี ในตำบลคอลอตันหยงเข้าสุนัต (ขลิบหนังหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ) โดยโต๊ะมูเด็ง ซึ่งยังไม่ถูกสุขลักษณะมากนัก | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) คือการทำความสะอาดร่างกายที่ต้อง ตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกจากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า Smegma หรือขี้เปียก นอกจากนี้การขลิบหนังปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กอีกด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย ในทัศนะของอิสลามนั้น การขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายเป็นการเอาใจใส่ดูแลสุขอนามัยและการทำให้บริสุทธิ์ การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชายทุกคน ภาษาอาหรับ เรียกว่า คีตาน ภาษามาลายู เรียกว่า มาโซ๊ะยาวี ส่วนคนไทยโดยทั่วไป เรียกว่า พิธีเข้าสุนัต หมายถึง การขลิบปลายอวัยวะเพศของเด็กมุสลิมชาย เมื่อย่างเข้าวัยอันควร คือ อายุระหว่าง 6 - 12 ปี โดยการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของชายเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ความสะอาด หากหนังหุ้มนั้นยังปกคลุมอยู่ ส่วนวัตถุที่คล้ายเนยแข็งซึ่งขับถ่ายออกมาโดยผิวหนังของบริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์จะหมักหมมอยู่ การเข้าสุนัตเป็นการขจัดสิ่งนี้โดยวิธีที่ดีที่สุด อีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันน้ำปัสสาวะค้างซึ่งเป็นสิ่งสกปรกมีกลิ่น ยากแก่การทำความสะอาด ในด้านการแพทย์ให้ความเห็นว่า สุนัต เป็นมาตรการที่มีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมาก มุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยส่วนใหญ่การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มักทำกับหมอบ้าน หรือที่เรียกกันว่า โต๊ะมูเด็ง จากความเชื่อและประเพณีตั้งแต่อดีตเชื่อว่า การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อกหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เนื่องจากสมัยก่อนโต๊ะมูเด็งทำการขลิบโดยไม่ใช้ยาชา ใช้อุปกรณ์เพียง ไม่กี่ชนิด เช่น ผ้าพันแผล ยางแดง มีด ที่หนีบ (ปงาเป้ะ) หยวกกล้วยและน้ำสะอาด ในช่วงหลังเริ่มมีการใช้ ยาชาช่วยลดความเจ็บปวด และใช้แอลกอฮอล์ช่วยทำความสะอาดก่อนขลิบ หลังจากการขลิบเสร็จมีทั้งแผลที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการใช้เครื่องมือที่สะอาดและวิธีการ ที่ปลอดภัยมากขึ้น การขลิบสมัยใหม่มีทางเลือกมากมายเช่น การจัดเข้าสุนัตหมู่ ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ
ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 6,281 คน เป็นเด็กอายุ 6 - 12 ปี จำนวน 839 คน (ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ เมษายน 2567) สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอตันหยง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น และมีบทบาทหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่ ตำองทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการขลิปหนังหุ้ม ปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม (เข้าสุนัตหมู่) ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้การบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในตำบลคอลอตันหยง ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก ร้อยละ 100 เพื่อให้การบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในตำบลคอลอตันหยง ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก |
50.00 | 50.00 |
2 | เพื่อให้เเพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมและผู้เข้าร่วมโครงการในเขตพื้นที่ตำบลคอลอตันหยง สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค ร้อยละ 100 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมและผู้เข้าร่วมโครงการในเขตพื้นที่ตำบลคอลอตันหยง สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค |
50.00 | 50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 220 | 67,145.00 | 0 | 0.00 | 67,145.00 | |
17 ก.พ. 68 - 31 มี.ค. 68 | กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมรับสมัครเด็กและเยาวชนเพศชาย อายุ 6 – 12 ปี เข้าร่วมโครงการ | 50 | 720.00 | - | - | ||
22 เม.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2 การให้ความรู้การดูแลสุขภาพวัยรุ่น และการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในตำบลคอลอตันหยง | 120 | 66,425.00 | - | - | ||
22 - 30 เม.ย. 68 | ติดตามและประเมินผลโครงการ | 50 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 220 | 67,145.00 | 0 | 0.00 | 67,145.00 |
ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศโดยทางแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2567 13:58 น.