โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในตำบลประดู่
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในตำบลประดู่ |
รหัสโครงการ | 68-L2981-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ |
วันที่อนุมัติ | 29 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 25,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุธาทิพย์ จันทคุตโต |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางฟาฏิมะฮ จารู |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การแพทย์แผนไทยนับเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีองค์ความรู้ความสามารถ อันเกิดจากการรวบรวมความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสุขภาพที่ครอบคลุม ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม โดยใช้หลักธรรมมานามัย 3 ประการ คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย การส่งเสริมสุขภาพด้วยหลักกายานามัย เป็นการปรับสมดุลของธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกาย โดยการรับประทานอาหารสมุนไพร การนวดไทย การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร และกายบริหารแบบไทย ส่วนจิตตานามัย เป็นการทำ สมาธิ สงบจิต และภาวนาเป็นการรักษาสุขภาพทางใจ และชีวิตานามัยเป็นการดำเนินชีวิตสายกลาง มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีอาชีพที่เหมาะสม ศาสตร์การแพทย์แผนไทยจึงมีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพคนไทยโดยรวม
คลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ ได้ตระหนักถึงการดูแลสุภาพตัวเอง ซึ่งเป็นการดูแลตั้งแต่ต้นเหตุ ได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต จึงนำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้ชีวิตประจำวัน โดยจัดเป็นให้มีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีกิจกรรม คือให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้วยท่าฤๅษีดัดตน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ จึงได้จัดทำโครงการการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในตำบลนาประดู่ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ ปัญญา สังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปเผยแพร่ และช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างบูรณาการ สามารถสร้างเสริมสุขภาพให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การเห็นคุณค่าตนเองเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ และตระหนักถึงคุณค่าในศาสตร์แพทย์แผนไทยต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย |
50.00 | 50.00 |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ |
50.00 | 50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 25,650.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | การอบรมให้ความรู้ และทำลูกประคบสมุนไพร | 50 | 25,650.00 | - |
- ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ประชาชนนำความรู้ที่ได้ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2567 17:34 น.