โครงการนักเรียนวัยใส ห่างไกลโรคติดต่อ
ชื่อโครงการ | โครงการนักเรียนวัยใส ห่างไกลโรคติดต่อ |
รหัสโครงการ | 68-L8404-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดศีรษะคีรี |
วันที่อนุมัติ | 7 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,461.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.103980973,100.5269584place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 12,461.00 | |||
รวมงบประมาณ | 12,461.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรงเรียนเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก มีการคลุกคลีสัมผัสและทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายและติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กเจ็บป่วย เด็กวัยเรียน ได้แก่ เด็กที่มีอายุ 6-12 ปี เป็นช่วงอายุที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์สังคม และด้านสติปัญญา เด็กยังมีภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ จากการสร้างเสริมคุ้มกันโรค แต่วัยเด็กเจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากความต้านทานโรคต่ำ โรคที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อทางเชื้อไวรัส และโรคติดต่อทางผิวหนัง เป็นต้น รวมไปถึงโรคเหา ทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม รวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่ายทั้งระหว่างนักเรียนด้วและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือต้องกำจัดเหาเปฏิบัติตนอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะช่วยลดและแก้ไขปัญหาเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยของเด็กวัยเรียนภายในโรงเรียนได้ โรงเรียนวัดศีรษะคีรี ได้เล็งเห็นความสำคัญชีกำจัดเหาในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนวัยใส ห่างไกลโรคติดต่อ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน การติดต่อ และลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดโรงเรียน และรณรงค์กำจัดโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักความสะอาดของร่างกายและศีรษะ รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดจากโรคต่างๆ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ และมีความรู้เรื่องเหาและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง นักเรียนในโรงเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ และมีความรู้เรื่องเหาและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง โดยวัดความรู้จากการตอบคำถาม และความสนใจในการรับฟังการอบรม |
||
2 | เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบเหาได้รับการกำจัดเหา นักเรียนในโรงเรียนที่เป็นโรคเหาได้รับยากำจัดเหาทุกคน |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมเชิงบรรยาย | 64 | 5,752.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ | 0 | 6,709.00 | - | ||
รวม | 64 | 12,461.00 | 0 | 0.00 |
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อและการป้องกัน
- นักเรียนมีความรู้ในเรื่องเหาและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
- ถูกต้องนักเรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการล้างมือที่สะอาดและถูกวิธี
- นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบเหาได้รับการกำจัดเหา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2567 14:38 น.