กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตู้ยาฉุกเฉิน
รหัสโครงการ 61 L5256 2 05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพอ
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 29,830.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งพอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.553,100.91place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากการเจ็บป่วยเบื้องต้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และทุกเวลา การดูแลสุขภาพตนเอง คนในครอบครัว รวมถึงเพื่อนบ้านในชุมชน เพื่อป้องกัน และบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีความรู้ขั้นพื้นฐานไว้ เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง มีการใช้ยาที่ถูกต้อง และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมา เพื่อบรรเทาความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยก่อนส่งต่อถึงมือแพทย์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวซึ่งจำเป็นที่สถานที่สำคัญต่าง ๆ ของชุมชนต้องมีตู้ยาและมียาพร้อมเวชภัณฑ์ จึงได้จัดทำโครงการตู้ยาฉุกเฉินสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 ขั้นเตรียมการ 1) สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในชุมชน 2) ศึกษาข้อมูลหาแหล่งตั้งตู้ยาฉุกเฉินและ อสม.ผู้รับผิดชอบ 3) จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 4) ประชุมประธาน อสม.แต่ละหมู่บ้านเพื่อเตรียมกำหนดกิจกรรมดำเนินการ 3.2 ขั้นตอนการดำเนินการ 1) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาให้แก่ อสม.
2) จัดหายาที่จำเป็น ยาสามัญประจำบ้าน เวชภัณฑ์ พร้อมตู้ยา 3) สำรวจยาในตู้ยาเป็นประจำทุกเดือน ๔) จัดทำข้อมูลผู้ป่วยที่มาใช้บริการตู้ยาฉุกเฉิน 3.3 ขั้นสรุปผลการดำเนินการ 1) สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน ทุก 3 เดือน 2) สรุปรายงานการดำเนินการโครงการตู้ยาฉุกเฉิน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ในชุมชนมียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นพร้อมสำหรับดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นของคนในชุมชน
2) อสม.และคนในชุมชน มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐาน และการดูแลรักษา และปฐมพยาบาลความเจ็บป่วยเบื้องต้น

๓) ผู้ดูแลตู้ยาสามารถบริหารจัดการยา และเวชภัณฑ์ได้อย่างเป็นระบบ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2561 14:07 น.