โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เยี่ยมหลังคลอดผูกสายใยรัก 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เยี่ยมหลังคลอดผูกสายใยรัก 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอ.ส.ม. รพ.สต.คลองแงะ |
วันที่อนุมัติ | 7 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 กุมภาพันธ์ 2569 |
งบประมาณ | 5,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนฤมล สวนอินทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 45 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ | 80.00 | ||
2 | ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 8 ครั้ง | 80.00 | ||
3 | ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ | 80.00 | ||
4 | ร้อยละของหญิงหลังคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด | 80.00 | ||
5 | ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการล่าช้า | 80.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่การดูแลก่อนตั้งครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งร่างกายจิตใจสังคมและจิตวิญญาณตามคำกล่าวที่ว่าลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยอย่างมีคุณภาพจากการดำเนินงานตามโครงการฝากครรภ์ เร็ว ฝากครรภ์ครบเพื่อลูกปลอดภัยในปีที่ ผ่านมา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคที่สามารถป้องกัน และดูแลได้หากได้รับการดูแลที่เหมาะสมในเรื่องการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์การได้รับความรู้เรื่องโภชนาการสามารถส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์และยังสามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของแม่ตลอดจนความฉลาดทางสติปัญญา ( IQ ) ของเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มลดลงซึ่งปัจจัยที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของแม่ได้แก่ภาวะทุพโภชนาการเช่นขาดไอโอดีนภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์หรือปัจจัยอื่นๆ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน การแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของชุมชนผู้นำศาสนาผู้นำชุมชนตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแกนนำสตรีกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีผดุงครรภ์โบราณอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ปฏิบัติงานในระดับศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญร่วมกันว่าปัญหาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการแก้ไข จากสภาพปัญหางานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งงเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะย้อนหลัง3 ปี (พ.ศ.2565-2567) หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ79.80,89.12 และ 93.44ฝากครรภ์ครบ5ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ70.43,86.30 และ 90.00ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์ร้อยละ19.00,19.41 และ 15.38โดยเฉพาะปัญหาภาวะซีดที่เป็นภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยประเมินจากการเจาะเลือดวัดระดับค่าฮีมาโตคริตต้องมากว่า 33 %และค่าระดับฮีโมโกลบิลในเลือดต้องมากกว่า12.3g/dlการที่หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับสารอาหารที่มีธาตุ เหล็กวิตามินบี 12 บี6อีซีทองแดงและ โฟเลทที่เพียงพอและเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงในการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อย ลูกในครรภ์มีโลหิตจาง หากโลหิตจางมาก อาจทำให้เกิดน้ำคร่ำน้อย ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิตในครรภ์ได้ นอกจากนั้นยังอาจเกิดอันตรายกับมารดาในช่วงคลอด เพราะอาจตกเลือดจนเสียชีวิตได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะได้เห็นถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ครบ เพื่อลูกรักสุขภาพดี เพื่อมุ่งส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ทุกช่วงวัยจึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ผูกสายใยรัก ลูกรักพัฒนาการสมวัยรพ.สต.คลองแงะ ปี 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น) |
80.00 | 90.00 |
2 | เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ทารกคลอดเกิดมีชีพ ไม่มีแม่ตาย |
0.00 | 0.00 |
3 | เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้ง ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 8 ครั้ง เพิ่มขึ้น |
80.00 | 90.00 |
4 | เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดครบตามเกณฑ์ ร้อยละของหญิงหลังคลอดที่ได้รับการตวจและเยี่ยมหลังคลอด |
80.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 5,600.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 29 พ.ค. 68 | ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ | 0 | 975.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 28 ก.พ. 69 | กิจกรรม โรงเรียน พ่อแม่ | 0 | 3,500.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 26 ม.ค. 69 | ติดตามเยี่ยมหลังคลอด | 0 | 1,125.00 | - | ||
1 - 31 ธ.ค. 68 | กิจกรรมสรุปและประเมินผล | 0 | 0.00 | - |
หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ หลังคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ครบ เพื่อลูกรักสุขภาพดี เพื่อมุ่งส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ทุกช่วงวัย
เด็ก 0-5 ปี มีโภชนาการปกติและพัฒนาการสมวัย
เด็ก 0-3 ปี มีฟันผุลดน้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 00:00 น.