โครงการคัดกรองสารพิษ ชีวิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย รพ.สต.คลองแงะ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองสารพิษ ชีวิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย รพ.สต.คลองแงะ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.คลองแงะ |
วันที่อนุมัติ | 7 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 กุมภาพันธ์ 2569 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฝีเหย๊าะ เอียดหนัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนร้านขายของชำและร้านค้าแผงลอยจำหน่ายอาหาร | 24.00 | ||
2 | การเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกร และผู้บริโภคที่ผลมีความเสี่ยง | 17.00 | ||
3 | การเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกร และผู้บริโภคที่ผลไม่ปลอดภัย | 14.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยมีปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง พื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นอีกหนึ่งตำบลที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยคิดเป็นร้อยละ 46 มีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน เช่น สวนยาง สวนปาล์ม สวนผลไม้ พื้นที่ทำไร่ทำนา และปลูกพืชผักตลอดทั้งปี ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่ จากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พบว่าเกษตรกรในตำบลท่าหมอไทรยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ในการใช้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลท่าหมอไทร จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดภัย ห่างไกลสารเคมีขึ้น เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งยังได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีให้ถูกต้องและเหมาะสม จากการตรวจหาระดับสารเคมีในเลือดปี 2567 ในกลุ่มเป้าหมาย 44 ราย พบว่าผลมีความเสี่ยง จำนวน 17 คน ผลไม่ปลอดภัย จำนวน 14 คน จากผลการตรวจดังกล่าวทำให้ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะจึงจัดทำ โครงการคัดกรองสารพิษ ชีวิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย รพ.สต.คลองแงะ ปี 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาและยกระดับร้านชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐาน ร้อยละ ของร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านชำในพื้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและสุขาภิบาลอาหาร |
24.00 | 100.00 |
2 | เพื่อเฝ้าระวังความเสี่่ยงจากการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม และในกลุ่มผู้บริโภค จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพด้านการเกษตร และกลุ่มผู้บริโภค มีความรู้และได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ |
17.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | |
3 ก.พ. 68 - 31 ธ.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกร | 0 | 4,300.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 31 ธ.ค. 68 | แลกเปลี่ยนเรียนรู้ป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ | 0 | 2,500.00 | - | ||
3 มี.ค. 68 | ประชุมแผนงาน | 0 | 300.00 | - | ||
3 - 28 มี.ค. 68 | เตรียมสื่ออุปกรณ์และวัสดุในการจัดกิจกรรม | 0 | 2,100.00 | - | ||
1 - 18 เม.ย. 68 | ออกตรวจและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการร้านชำประจำปีและให้คำแนะนำ | 0 | 500.00 | - | ||
1 ธ.ค. 68 - 31 ม.ค. 69 | สรุปผลดำเนินโครงการ | 0 | 300.00 | - |
1.ร้านขายของชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว 2.แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร 3.เกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 00:00 น.