โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมจักรยานขาไถ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมจักรยานขาไถ |
รหัสโครงการ | 68-50087-3-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว |
วันที่อนุมัติ | 1 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 กุมภาพันธ์ 2569 |
งบประมาณ | 14,344.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเชาวลิต จินดาประเสริฐ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 78 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้สนับสนุนการวิจัยในโครงการพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย ซึ่งมีการเก็บข้อมูลเพื่อหาค่าเกณฑ์มาตรฐานการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย ที่สุ่มตัวอย่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบว่า เด็กไทยวัย2 - 6 ปี มีคะแนนพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร โดยรวมล่าช้ากว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อยไปจนถึงล่าช้ามาก ประมาณเกือบ 30% นอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กวัย 2 - 6 ปีที่เริ่มมีปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อยจนถึงมีปัญหาอย่างชัดเจน มีมากกว่า 30% เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร จะสัมพันธ์ความยากลำบากในการควบคุมกำกับตนเอง หุนหันพลันแล่น ใจร้อน รอคอยไม่เป็น สมาธิสั้น วอกแวกง่าย และในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อการเรียน การทำงาน การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้นพฤติกรรมการคิดเชิงบริหารมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวช เช่น โรคซน สมาธิสั้น ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า ประพฤติผิดปกติ-เกเรอันธพาล เป็นต้น นโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจ อารมณ์มีความ เบิกบาน มีความกล้าหาญ มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ เคารพกฎ ระเบียบ กติกาด้วยกิจกรรมจักรยานขาไถ Balance Bike เพราะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ทุกด้าน ทั้งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้แข็งแรง เป็นการฝึกการทรงตัว รวมทั้งช่วยฝึกสายตา การแยกแยะสี การประเมินระยะทาง การใช้มือและแขนเพื่อบังคับทิศทาง และการใช้กล้ามเนื้อขาที่ออกแรงเดิน เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ดี และเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพ เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว จึงได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมจักรยานขาไถขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) |
56.78 | 60.00 |
2 | ผลการประเมินสมดี สมส่วนของนักเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละของนักเรียนที่มีร่างกายสมดีสมส่วนเพิ่มขึ้น |
70.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14,344.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 31 ธ.ค. 68 | ประชุมวางแผนคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | 0 | 324.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 31 ธ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้และส่งเสริมพัฒนาการเด็กและสาธิตการใช้จักรยานขาไถ | 0 | 1,520.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 31 ธ.ค. 68 | ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยจักรยานขาไถ | 0 | 12,500.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 31 ธ.ค. 68 | ประเมินพัฒนาการสมวัย | 0 | 0.00 | - |
1.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมวัย มีกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่แข็งแรงมีการทรงตัวที่ดี 2.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ สมวัยมีความเบิกบาน มีความกล้าหาญมีวินัยมีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย 3.ครูและผู้ดูแลเด็กมีคุณภาพและความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพ 4.ครู ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการเล่นจักรยานขาไถ 5.นักเรียนมีน้ำหนัก,ส่วนสูงที่สมส่วนมากขึ้น 6.นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 00:00 น.